ATR (Average True Range) หรือ ATR Indicator เป็นอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคตัวหนึ่ง ซึ่งใช้วัดระดับความผันผวนของราคา ซึ่งถูกพัฒนาโดย J. Welles Wilde
โดย ATR จะแตกต่างจากอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น Moving Average, MACD, RSI และ Stochastic ที่มักจะใช้บอกแนวโน้มของราคา หรือระดับราคาการซื้อขาย Overbought หรือ Oversold และ ATR ไม่สามารถใช้ในการบอกทิศทางของราคาได้ แต่จะเป็นตัวบอกระดับความผันผวน (Volatility) ของตลาด โดยส่วนมากแล้ว ATR มักจะถูกนำไปใช้อ้างอิง ร่วมกับอินดิเคเตอร์ที่ใช้บอกแนวโน้มของราคา เพื่อยืนยันแนวโน้มให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
หลายคนยังสับสนเกี่ยวกับความผันผวน โดยความผันผวนนั้น ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม และไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางราคา แต่เป็นการวัดว่าราคาแกว่งตัวไปมามากน้อยเพียงใด
- ความผันผวน (Volatility) : ใช้วัดการแกว่งตัวของราคา ว่ามีขนาดเท่าไรเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย โดยในช่วงที่ความผันผวนมาก แท่งเทียนจะมีลักษณะไส้เทียนยาว ๆ และตัวเทียนจะมีสัดส่วนที่เล็กเมื่อเทียบกับไส้เทียน
- โมเมนตัม (Momentum) : ใช้บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม โดยในช่วงที่โมเมนตัมของราคามีมาก แท่งเทียนมักจะมีตัวเทียนขนาดใหญ่ และไส้เทียนสั้น ๆ
“ซึ่งในช่วงที่ราคาเป็นเทรนหรือแนวโน้มอย่างชัดเจนนั้น จะพบว่าราคามีความผันผวนน้อย แต่จะมีโมเมนตัมที่สูง”
ตัวอย่างความแตกต่างระหว่างความผันผวนและโมเมนตัม
จุดน่าสังเกตของ ATR Indicator คือ ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น จะให้ค่าความผันผวนน้อยกว่า ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง (ขาลง ATR สูง , ส่วน ขาขึ้น ATR ต่ำ) เนื่องจากทางทฤษฎีได้อ้างอิงว่า อารมณ์กลัว (ลบ) นั้นความมีรุนแรงมากกว่าอารมณ์โลภ (บวก) จึงทำให้เวลาตลาดขาลง มีความผันผวนที่มากกว่าช่วงตลาดขาขึ้นนั่นเอง
โดยหลัก ๆ ATR ไม่ได้เป็นตัวให้สัญญาณการซื้อขาย แต่ส่วนมากจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือ ที่ใช้หาจุดขายทำกำไร หรือจุดตัดขาดทุน เนื่องจากสามารถปรับจุดขายทำกำไร หรือจุดตัดขาดทุน ให้ยืดหยุ่นตามสภาพตลาด ณ เวลานั้นได้อย่างดี เช่น ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก การแกว่งตัวของราคาจะค่อนข้างกว้างกว่าปกติ จึงต้องปรับจุดตัดขาดทุนให้เหมาะสมกับตลาดในช่วงนั้น เป็นต้น
Volatility Stop Indicator ซึ่งมีค่าเหมือนกับ ATR เพียงแต่นำมา Plot บนกราฟ
สรุป
ATR นั้นคืออินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดความผันผวนของตลาด อีกทั้งยังสามารถใช้ในการช่วยหาจุดขาดทุน และจุดทำกำไร (Volatility Stop Indicator) เช่นเดียวกันกับ Parabolic SAR ซึ่งการใช้งาน ATR ยังมีอีกหลากหลายวิธี ซึ่งเทรดเดอร์ Forex สามารถลองนำไปปรับการใช้งานกันดู อีกทั้งยังสามารถนำอินดิเคเตอร์ตัวอื่นมาใช้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดให้ดียิ่งขึ้น
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ตามแหล่ง ดังต่อไปนี้
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! คลิกที่นี่
คลังบทความความรู้ทั่วไป คลิกที่นี่
โบรกเกอร์สำหรับมือใหม่ คลิกที่นี่
บทวิเคราะห์รายวัน คลิกที่นี่