เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ลงทุนอย่างไรในช่วง “เงินเฟ้อ”

  Posted on 2 years ago (Sep 12, 2022)
1531
List of content
เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ลงทุนอย่างไรในช่วง “เงินเฟ้อ”

เงินเฟ้อ ถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของการออมเงินและการลงทุนจริงหรือไม่? ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกมากล่าวว่า “จะเดินหน้าเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อกำจัดเงินเฟ้อต่อไป” แล้วนักลงทุนจะวางแผนการลงทุนอย่างไรให้อยู่รอดท่ามกลางวิกฤตินี้? วันนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับภาวะเงินเฟ้อ, สาเหตุของเงินเฟ้อ, สินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงแนวทางในการลงทุนในช่วงเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร? ส่งผลอย่างไร?

ภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร? ส่งผลอย่างไร?

ภาวะเงินเฟ้อ หรืออัตราเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้น้อยลงในจำนวนเงินเท่าเดิม โดยสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อมาจากความต้องการซื้อ (อุปสงค์) มากกว่าความต้องการขาย (อุปทาน) และต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ผู้บริโภคและนักลงทุนส่วนใหญ่จึงไม่ต้องการพบกับสภาวะเช่นนี้นัก เพราะเงินเฟ้อจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนและการออมลดลง

สินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบ เมื่อก้าวเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ

สินทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบ เมื่อก้าวเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อ 

ต้องทราบก่อนว่า เงินเฟ้อนั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทุกปีอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า จะมากหรือน้อย โดยหากเป็นเงินเฟ้ออ่อน ๆ ที่ประมาณ 2-3% อาจไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก ซึ่งในทางกลับกัน มันอาจเป็นแรงจูงใจในการลงทุน ซึ่งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจมากกว่า แต่ในส่วนของวิกฤติเงินเฟ้อที่มีตัวเลขพุ่งสูงนั้น จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ภาคการลงทุน ตลอดจนภาคประชาชน ซึ่งสินทรัพย์หลักที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

ตราสารหนี้

1. ตราสารหนี้

ตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ และพันธบัตรรัฐบาล ถือเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคงที่ แต่เมื่อเกิดเงินเฟ้อจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ความน่าสนใจของตราสารหนี้จะลดลง ทำให้ราคาของหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง

หุ้นสามัญ

2. หุ้นสามัญ

ตลาดหุ้นมักจะเกิดความผันผวนได้ง่ายเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ เพราะการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลต่อการผลิต, มูลค่า ตลอดจนผลประกอบการของกิจการโดยตรง เนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ตลาดหุ้นในช่วงนี้จึงซบเซา ส่วนการลงทุนก็ชะลอตัวลง

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่กับทุกสินทรัพย์ที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ เพราะเมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้ สินทรัพย์ที่เป็นหลุมหลบภัย (Safe Haven) อย่างทองคำ จะอยู่รอดท่ามกลางวิกฤติ โดยทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่ถูกยอมรับในระดับสากลว่า เป็น “หน่วยรักษามูลค่า” (Store of Value) และสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้น เมื่อเกิดเงินเฟ้อ นักลงทุนส่วนมากจึงหันมาถือครองทองคำแทน

ทองคำ

และนอกจากทองคำแล้ว สินทรัพย์ที่ได้รับผลประโยชน์ในช่วงเงินเฟ้อยังมีสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการนำไปใช้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ จากการที่ต้นทุนมีการปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง การปรับอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลให้หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินอย่างธนาคารได้รับประโยชน์ในช่วงดังกล่าวด้วยเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของธนาคาร

หากเกิดภาวะเงินเฟ้อ ควรลงทุนอย่างไร?

จากข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อถือเป็นสิ่งที่อยู่กับเราตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่วิกฤติที่หนักมากจนเกินไปก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการบริโภค, การออม ตลอดจนการลงทุนของเราโดยตรง ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ เราขอนำเสนอวิธีรับมือ ดังนี้

ปรับพอร์ตการลงทุน และกระจายความเสี่ยง

1. ปรับพอร์ตการลงทุน และกระจายความเสี่ยง

หากคุณเป็นคนที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก ๆ เมื่อเกิดวิกฤติเงินเฟ้อ คือ การปรับพอร์ตการลงทุนด้วยการกระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือสินทรัพย์ที่เป็นหลุมหลบภัย และไม่ควรเพิ่มสัดส่วนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง แต่หากสินทรัพย์ที่คุณถือครองอยู่มีแนวโน้มขาลง ทำให้พอร์ตติดลบมากจนเกินไป คุณอาจจะต้องพิจารณาขายบางส่วน หรือทั้งหมด เพื่อไม่ให้ขาดทุนหนัก

DCA (Dollar-Cost Averaging)

2. DCA (Dollar-Cost Averaging)

หากคุณมั่นใจในสินทรัพย์ที่คุณถือครองอยู่ว่า มันจะเติบโตขึ้นในอนาคตหากผ่านวิกฤติไปได้ คุณอาจจะพิจารณาลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA เพิ่มในช่วงขาลงนี้ เพราะการถัวเฉลี่ยจะทำให้ต้นทุนของคุณต่ำลงหากลงทุนในระยะยาว และได้สินทรัพย์ราคาถูกลงในช่วงวิกฤติ อย่างไรก็ดี คุณต้องมีความมั่นใจว่า สินทรัพย์นั้นจะมีแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต

ติดตามสถานการณ์ข่าวสารต่าง ๆ

3. ติดตามสถานการณ์ข่าวสารต่าง ๆ

ในช่วงที่ประเทศกำลังเผชิญกับเงินเฟ้อ ตลาดการลงทุนจะมีความผันผวนค่อนข้างสูง ดังนั้น นักลงทุนจึงควรติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้ในการพิจารณาและปรับพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะข่าวสารจากสหรัฐฯ เนื่องจากแถลงการณ์ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนค่าเงินของสหรัฐฯ ล้วนส่งผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศต่าง ๆ อย่างไรก็ดี นักลงทุนไม่ควรจดจ่อกับข่าวสารต่าง ๆ มากเกินไปจนเกิดความวิตกกังวล และส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุน

โดยสรุปแล้ว ภาวะเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวเพิ่มสูงตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้น้อยลง และส่งผลต่อภาคการผลิต การลงทุน ตลอดจนภาคประชาชน ดังนั้น นักลงทุนจึงควรมีการปรับพอร์ตการลงทุนด้วยการกระจายความเสี่ยงเพื่อรับมือสถานการณ์ในช่วงนี้ 

อย่างไรก็ดี นักลงทุนควรใช้เครื่องมือและคำสั่งในการช่วยเปิดออเดอร์ เพื่อกำจัดอารมณ์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และอย่าลืมใช้เงินเย็นในการลงทุนนะครับ ภาวะวิกฤติมักจะตามมาด้วยการฟื้นตัวเสมอ เพราะฉะนั้น อย่าวิตกมากจนเกินไปครับ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมดังนี้

คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! : คลิกที่นี่

คลังบทความความรู้เพิ่มเติม : คลิกที่นี่

บทความรีวิวโบกเกอร์เพิ่มเติม : คลิกที่นี่

บทวิเคราะห์รายวัน : คลิกที่นี่


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม