Customer Price Index (CPI) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค คืออะไร?

  Posted on 2 years ago (Apr 11, 2022)
3130
List of content
Customer Price Index (CPI) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค คืออะไร?

Consumer Price Index (CPI) : ดัชนีราคาผู้บริโภค

Consumer Price Index (CPI) คือ การวัดทางสถิติที่จัดทำโดย Bureau of Labor Statistics (BLS) ที่ใช้วัดน้ำหนักความเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และบริการที่ผู้บริโภค หรือครัวเรือนนั้นซื้อมาบริโภค
 
CPI เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ถูกอ้างถึงบ่อยที่สุด และใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อพิจารณาภาวะเงินเฟ้อ นักลงทุนจึงให้ความสำคัญกับ CPI เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจกำลังดำเนินไปในทิศทางใด
 
อีกทั้ง ยังเป็นตัวเลขที่มีอิทธิพลต่อการคาดการณ์ราคาสำหรับสินทรัพย์ที่อ่อนไหวต่อเงินเฟ้อ เช่น พันธบัตรและสินค้าโภคภัณฑ์ โดยทั่วไปแล้ว CPI ก็มักใช้เป็นตัววัดภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งส่วนใหญ่ CPI ที่ดีคือต่ำถึงปานกลางในช่วง 2-3%
 

CPI สำคัญอย่างไร?

 
CPI เป็นตัวเลขบ่งชี้ถึงสภาพเงินเฟ้อ และเงินฝืด ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ถือว่า เป็นภัยคุกคามสภาพเศรษฐกิจ หาก CPI สูง จะแสดงให้เห็นอัตราเงินเฟ้อที่สูง ก็จะมีผลกระทบกับมาตรฐานค่าครองชีพของประชาชน หากรายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ก็จะประสบกับค่าครองชีพที่สูง และไปกระทบถึงสภาพเศรษฐกิจ เมื่อสินค้าทุกอย่างมีราคาสูงขึ้น ในภาคการผลิต ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้น ผู้ผลิตเองก็จะผลิตสินค้าออกมาได้น้อย ทำให้ได้กำไรน้อย จึงอาจจะกระทบไปถึงการจ้างงานที่ต้องมีการไล่คนงานออก เนื่องจากผู้ผลิตแบกต้นทุน และค่าใช้จ่ายไม่ไหว
 

CPI Basket / สินค้าและบริการที่ถูกคำนวณใน CPI 

 
  • ขนส่ง (Transportation) 5%
  • รักษาพยาบาล (Health care) 7%
  • พลังงาน (Energy Incl. Gasoline) 7%
  • อาหาร (Food) 14%
  • สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities (Incl. Medication and Autos) 20%
  • ที่อยู่อาศัย (Housing) 33%
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Other expenses) 14%
รวม : 100%
 
CPI Basket แสดงราคาสินค้าและบริการที่ถูกซื้อโดยครัวเรือนทั่วไป ประมาณ 93% ของคนอเมริกา
   

CPI ส่งผลกับหน่วยงานใดบ้าง ?

1. หน่วยงานภาครัฐ 

CPI

หน่วยงานภาครัฐใช้ตัวเลข CPI ในการพิจารณาทิศทางของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยถ้าหาก CPI สูงแสดงให้เห็นว่าประเทศกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่สูง ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนภายในประเทศ ซึ่งภาครัฐจะทำหน้าที่ร่วมกันกับธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยการใช้ข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภคมาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง 

2. อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุน 

CPI

 

เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้ให้เช่า สามารถใช้ตัวเลข CPI ในการพิจารณาขึ้นราคาค่าเช่าได้ในอนาคต และตัวเลข CPI ที่เพิ่มขึ้นสามารถกดดันราคาพันธบัตรด้วยเช่นกัน การลงทุนในตราสารหนี้มักจะสูญเสียมูลค่าในช่วงเงินเฟ้อ ความต้องการผลตอบแทนเหล่านี้จะทำให้เกิดการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งก็จะไปเพิ่มต้นทุนสำหรับธุรกิจที่ไปกู้ยืมเงินเพื่อขยายกิจการ ส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ลดลงและกดดันตลาดหุ้น

3. FED 

CPI

FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจกำหนดทิศทงเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ โดย CPI จะใช้ตัวเลขประกอบการพิจารณาว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ และจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินอย่างไรเพื่อป้องกันและแก้ไข เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อลดปริมาณเงินเข้าสู่ตลาด เป็นต้น 

กล่าวโดยสรุป CPI เป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อ และเงินฝืด ซึ่งทั้งสองนี้ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ทำให้คนในประเทศเกิดความเดือดร้อน ถ้าหาก CPI สูงแสดงให้เห็นว่าภายในประเทศกำลังเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงจนไม่สามารถควบคุมได้จนเกิดผลเสียกับประเทศ ส่วนถ้าหาก CPI น้อยแสดงให้เห็นว่าภายในประเทศกำลังเผชิญกับอัตราเงินฝืด ซึ่ง CPI ส่งผลกับหน่วยงานภาครัฐ, อสังหาริมทรัพย์ การลงทุน และ FED ซึ่งทั้ง 3 หน่วยงานนี้ต่างมีความสำคัญกับเศรษฐกิจประเทศ โดยเฉพาะ FED ที่เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงิน ดังนั้น CPI จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการลงทุนและเศรษฐกิจของประเทศครับ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความเพิ่มเติมได้ดังนี้
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! : คลิกที่นี่
คลังบทความความรู้ทั่วไป : คลิกที่นี่
โบรกเกอร์สำหรับมือใหม่ : คลิกที่นี่ 
บทวิเคราะห์รายวัน : คลิกที่นี่


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม