หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า FED หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกามากันบ้างนะครับ ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจของโลก ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศจะมีธนาคารกลางเป็นของตัวเอง แต่ด้วยสหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงทำให้ FED มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังเกตได้จากถ้าหาก FED จัดการประชุม ไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลางประเทศอื่น รัฐบาล หรือนักลงทุนต่างให้ความสนใจ ดังนั้นวันนี้ Forexlearning จึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จัก FED ให้มากขึ้นกันครับ
FOMC (Federal Open Market Committee) หรือคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve System) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า FED ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ การจ้างงาน เสถียรภาพทางการเงิน และควบคุม ดูแลสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดี Woodrow Wilson และสภาคองเกรส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1913 หลังจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้มีความต้องการในการควบคุมกลางซึ่งระบบการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตการเงิน และในปี 1930 ภาวะเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ตกต่ำเป็นอย่างมากจึงนำไปสู่การขยายบทบาทและความรับผิดชอบของระบบธนาคารกลาง
100 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้มีบทบาทขึ้นมา ก็ได้เข้ามาส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงทำให้นโยบายทางการเงินต่าง ๆ ที่ประกาศออกมา ส่งผลให้สถาบันการเงินทั่วโลกต่างให้ความสนใจ ขณะเดียวกัน FED ยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวิกฤตทางการเงินทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา
FED มีจุดประสงค์ คือ การพยายามสร้างความมั่นคงให้กับราคา กำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว และทำให้มีการจ้างงานสูงสุด โดยทั่วไป FOMC จะกำหนดนโยบายโดยการปรับระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา FOMC ได้มีการซื้อหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ เพื่อพยายามปรับปรุงเงื่อนไขเศรษฐกิจ และรองรับการฟื้นตัวทางการเงินด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
เครื่องมือนโยบายการเงิน 3 อย่างที่ควบคุมโดยธนาคารกลาง ได้แก่
1) การเก็บเงินทุนสำรอง
2) การลดอัตราดอกเบี้ย
3) การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations)
นโยบายการเงินของ FED มักจะเป็นที่จับตาของนักลงทุน ซึ่งหากคุณต้องการทราบว่า ทำไมนโยบาย FED ถึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก? สามารถเข้าไปอ่านบทความที่มีผู้เรียบเรียงไว้ได้ครับ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เฟด (Fed) มีผลต่ออุปสงค์และอุปทาน สำหรับการถือครองยอดเงินที่ธนาคารกลาง โดยสถาบันรับฝากเงิน รวมทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ย ในทางกลับกัน การตัดสินใจของ FOMC จะมีผลกระทบอย่างมากต่อตัวแปรเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ราคาของบริการและสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้แต่การจ้างงาน ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก เรียกได้ว่า การค้า การนำเข้า การส่งออก ตลาดการลงทุนของทุกประเทศทั่วโลกต่างเกี่ยวโยงกับประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งเงินที่หมุนเวียนภายในประเทศที่มีมูลค่ามหาศาล จึงทำให้เศรษฐกิจของทุกประเทศจะสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
ดังนั้น การประชุมคณะกรรมการตลาดเสรีกลาง (FOMC) คือ กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้นักลงทุนตัดสินแนวโน้มการเทรดได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ทางการเงินที่สำคัญ การประชุมคณะกรรมการตลาดเสรีกลางที่สำคัญสร้างผลกระทบอย่างมากในปฏิทินเศรษฐกิจ และสามารถส่งผลที่รุนแรงต่อราคาสินทรัพย์และสภาพคล่องในตลาด การติดตามปฏิทิน FOMC ช่วยให้นักลงทุนรู้ว่า การประชุมจะเกิดขึ้นเมื่อไร ทำให้สามารถลดความเสี่ยง หรือเพิ่มกำไรตามการคาดการณ์ผลของการประชุม ขณะที่ FOMC ประกาศการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (US Federal Reserve) เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การประชุมเหล่านี้สำคัญอย่างมากกับนักเทรดฟอเร็กซ์ เพราะจะส่งผลต่อคู่สกุลเงิน USD ที่เป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาด Forex
กล่าวโดยสรุป FED หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก เนื่องจากเป็นประเทศที่มีมูลค่าเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก นักลงทุนจึงต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากการประชุมแต่ละครั้งส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ ค่าครองชีพ และสภาพคล่องในตลาด นอกจากนักลงทุนต้องให้ความสนใจกับการประชุมของ FED แล้ว เราในฐานะประชาชนที่ต้องมีการใช้จ่าย และเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจต้องให้ความสนใจกันด้วยนะครับ เพราะถ้าหากเราติดตามข่าวสารการประชุมของ FED แต่ละครั้งจะทำให้ได้รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ดังนี้
คลังบทความความรู้เพิ่มเติม : คลิกที่นี่
บทความรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม : คลิกที่นี่