Elliot Wave คือทฤษฏีที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ตลาด จากพื้นฐานแนวคิดรูปแบบราคาบนกรอบเวลา (Timeframe) ขนาดเล็ก และในกรอบเวลาขนาดใหญ่ โดยรูปแบบราคาเหล่านี้ จะเป็นการบ่งบอกถึงทิศทางของราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกพัฒนาโดย Ralph Nelson Elliott ในปี ค.ศ.1930 และถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือ ชื่อ “Wave principle”
หลักการคร่าว ๆ ของ Elliot Wave คือ วงจรของตลาดจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน อันเนื่องมาจาก อารมณ์ของนักลงทุนในตลาด ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ได้ส่งผลออกมาในรูปแบบของกราฟ ในรูปแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
ดังนั้นจะเห็นได้จากกราฟ มี Pattern ต่าง ๆ ซ้ำ ๆ กัน เขาเรียกมันว่า การสวิงขึ้น-ลงของราคา โดยในขาขึ้นจะเรียกว่า “Impulse” ส่วนในทิศทางขาลงเรียกว่า “Corrective” และใช้ทฤษฎีนี้มาทำนายทิศทางของกราฟได้
Elliott Wave ประกอบด้วยคลื่น ในทิศทางขาขึ้น Impulse 5 ลูก คือ 1-2-3-4-5 และ ในทิศทางขาลง Corrective 3 ลูก คือ A-B-C จากรูปข้างล่างนี้
คลื่น 1: คลื่นลูกแรก มักจะเกิดจากการ กลับตัวในช่วงขาลง หรือ หมดจาก Corrective แล้ว พอเริ่มเกิดคลื่นลูกที่ 1 เราจะยังคงไม่สังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากบางทีอาจมองมันเป็นเพียงแค่การ รีบาวด์ของขาลงเท่านั้น ซึ่งตรงนี้เองเป็นจุดที่ราคาของกราฟเริ่มปรับฐาน
คลื่น 2: เมื่อเกิดคลื่นลูกแรกแล้ว คลื่นลูกที่ 2 คือ การปรับฐานของขาขึ้น โดยเกิดจากแรงเทขายของนักลงทุนที่รู้สึกว่ากราฟนั้นได้ขึ้นสูงจนเกินไปจากทิศทางขาลง ทำให้เกิดแรงเทขายและทำให้กราฟตกลงมา ซึ่งตรงนี้จะทำให้จะเกิดแรงซื้อเข้ามาด้วย ทีนี้จุดส่งเกตง่าย ๆ ของคลื่น 2 ก็คือ กราฟจะไม่ลงไป ถึงจุดต่ำสุดของกราฟคลื่น 1 จากนั้นราคา จะดีดตัวทะลุ High ของเวฟ 1 ขึ้นไป ทำเวฟ 3
คลื่น 3: เป็นคลื่นที่สังเกตง่ายที่สุด เนื่องจากเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดในขาขึ้น ซึ่งนี่จะเป็นการยืนยัน ทั้งเวฟ 1 เวฟ 2 และ สามารถกำหนดเป้าหมายคร่าว ๆ ของ เวฟ 4 และ เวฟ 5 ได้ ดังนั้นเวฟ 3 จึงเป็นเวฟที่ สำคัญที่สุดในการบอกทิศทางของกราฟต่อไป
คลื่น 4: เกิดหลังจากเวฟ 3 โดยเกิดจากการที่ มีแรงเทขายในเวฟ 3 เพื่อทำกำไรจากนั้นก็จะมีนักลงทุนรายย่อยเข้ามาช้อนซื้อราคาที่ตกลงมาและเมื่อยิ่งตกลงมามากเท่าไหร่คนก็ยิ่งนึกว่าของถูก ก็จะยิ่งเกิดแรงซื้อมากขึ้นและเมื่อแรงซื้อมากกว่าแรงขายแล้วก็จะสิ้นสุดเวฟ 4 โดยมากจะมีความยาวไม่เกิน 50 % ของความยาวของเวฟ 3
คลื่น 5: คือคลื่นแห่งเม่า เกิดจากนักลงทุนรายย่อยเมื่อเห็นราคาของกราฟ ขึ้นมาสูงแล้วก็เปิด Order ตาม จึงทำให้ราคาขึ้นไปเหนือ High ของเวฟ 3 จนเกิดเวฟ 5 ขึ้น โดย ทั่วไปแล้ว ความยาวของเวฟ 5 จาก เวฟ 4 จะมีความยาวไม่เกิน 25 %-50 % ของความยาวทั้งหมดของเวฟ 3
คลื่น A: คือคลื่นที่นักลงทุนรายใหญ่เห็นว่าราคานั้นได้ขึ้นมาสูงมากเกินไปแล้ว จะเกิดแรงเทขายเข้ามาทำให้ราคานั้นตกลง โดยมากราคาจะลงมาที่ 25-50 % ของความยาวคลื่นของเวฟ 3 จากนั้นเมื่อราคาตกแล้วก็จะเกิดแรงซื้อของนักลงทุนที่คิดว่าราคาจะปรับตัวขึ้นไปได้อีก จึงเกิดเป็นเวฟ B ต่อมา
คลื่น B: เกิดจากนักลงทุนเห็นว่าเมื่อราคาตกลงมาจากเวฟ A แล้วราคานั้นถูกจึงพากันเข้าซื้อเพื่อเก็บสะสมพอร์ตโดยหวังว่ากราฟจะขึ้นทะลุ High ขึ้นไปอีก แต่แน่นอนว่าเหนือสุดของเวฟ 5 คือแนวต้าน ก่อนจะถึงแนวต้าน นั้นนักลงทุนกลุ่มใหญ่จะเริ่มเทขายออกมา โดยมาก เวฟ B จะขึ้นไป ประมาณ 75 % ของระยะทางในแนวตั้งจาก 5 ไป เวฟ A
คลื่น C: นั้นเกิดจากแรงเทขาย ของนักลงทุน รายใหญ่ ตรงนี้จะเป็นจุดที่นักลงทุนอาจขาดทุนมากที่สุดเนื่องจากแรงเทขายตรงจุดนี้จะทำให้ ราคา ดิ่งลงมาอย่างรุนแรงและสิ่งที่จะสามารถยืนยันการเกิด เวฟ C ได้ ก็คือ เมื่อราคาได้ทะลุ Low ของ เวฟ A ลงมา
การใช้ Elliott Wave นั้นจะทำให้เราได้ทราบว่าแนวโน้มของราคาอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง แต่สิ่งที่ทฤษฎี Elliott Wave ไม่ได้บอกคือ การขึ้นลงของกราฟในช่วงนั้น ๆ และแนวโน้มจะมีการสิ้นสุดเมื่อใด
ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องพึ่งพาเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และยืนยันจุดเข้าออเดอร์
นี่ก็เป็นการดูรูปแบบกราฟ Elliott Wave เป็นเทคนิคการดูพฤติกรรมของราคาที่วิ่งเป็นแพทเทิร์นที่เกิดจากพฤติกรรมการซื้อ-ขายของนักลงทุนในตลาดรวมกัน ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์กราฟเพื่อที่จะหาจุดเข้าได้ แต่เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ค่อนข้างซับซ้อน จะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจค่อนข้างนาน แต่อย่างไรก็ดี การลงทุนกับความรู้โดเยมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน จะนำตุณไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแน่นอน หวังว่าทุกคนคงจะได้ความรู้ไปประยุกต์ใช้กันครับ
Source: Lucid-trader , ลงทุนแมน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ตามแหล่ง ดังต่อไปนี้
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! คลิกที่นี่
คลังบทความความรู้ทั่วไป คลิกที่นี่
โบรกเกอร์สำหรับมือใหม่ คลิกที่นี่
บทวิเคราะห์รายวัน คลิกที่นี่