หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Nonfarm payroll โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศปี 2022 ระบุว่ามีมูลค่ากว่า 855 ล้านล้านบาท ถือว่าใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงไม่แหลกเลยที่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ต่างให้ความสนใจ วันนี้ทาง Forexlearning จึงอยากมาพูดถึง Nonfarm Payrall ความเกี่ยวข้องกับตลาด Forex กันครับ
ดัชนีเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1970 หรือคิดเป็นเวลากว่า 50 ปี โดยมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดของการจ้างงาน ในปี 1983 ซึ่งเป็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากที่ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจละตินอเมริกาช่วงปี 1980 ถือว่ามีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากนั้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในภายหลัง
Nonfarm Payrolls คือ ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศทุกๆ วันศุกร์แรกของแต่ละเดือน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่านการรวบรวมตัวเลขทางสถิติการจ้างงานในภาคการบริการ, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรม โดยไม่นับรวมไปถึงการจ้างงานในภาคการเกษตร, ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหากำไรโดยกรมสถิติแรงงานของสหรัฐ
Nonfarm Payrolls คือสถิติแสดงตัวเลขการจ้างงานอย่างละเอียด โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะถูกแบ่งออกเป็นรายอุตสาหกรรม รวมถึงการแสดงสถิติในรูปแบบประชากรศาสตร์ โดยเป็นการรวบรวมอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งหมายถึงปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตรงนี้ก็จะแสดงถึงการขยายและหดตัวทางเศรษฐกิจได้
"ถ้าหากเศรษฐกิจดี ก็จะมีการจ้างงานสูงขึ้น อัตราการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย
ถ้าหากเศรษฐกิจไม่ดี อัตราการจ้างงานก็จะต่ำลง อัตราการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการก็จะต่ำลงเช่นกัน"
ซึ่งในจุดนี้ก็จะสะท้อนมุมมองทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการว่าควรจะลงทุนในกิจการตัวเองอย่างไรบ้าง และควรลงทุนกับอะไรบ้างครับ
การลงทุนเกี่ยวข้องกับ Nonfarm Payrolls ซึ่งมีการจ้างงานเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งการจ้างงานหมายความว่าประชาชนมีงานทำมากขึ้น เมื่อประชาชนมีงานทำกันมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีรายได้ในกรจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งการใช้จ่ายในการบริโภค (Consumption) ของประชาชนสหรัฐอเมริกาคิดเป็นกว่า 75% ของมูลค่า GDP สหรัฐอเมริกา ในขณะที่จำนวนสถิติผู้ใช้แรงงาน ที่อยู่นอกภาคเกษตรมีสัดส่วนมากกว่า 80% นั่นหมายความว่าตัวเลขของ Nonfarm Payrolls คือตัวเลขที่สะท้อนมูลค่าและเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ตัวอย่างในช่วงโควิด-19 ที่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติได้และทำการปลดพนักงาน เนื่องจากการทำธุรกิจไม่สามารถดำเนินไปดังเดิมได้ และเมื่อประชาชนภายในประเทศโดยปล้นออกจากงาน จึงทำให้้ประชาชนไม่กล้าใช้จ่าย จึงส่งผลให้ GDP สหรัฐอเมริกาในไตรมาส 2 ติดลบมากกว่า 30% เป็นต้นครับ
1. การติดตามข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ forexfactory.com
2. ข่าวจะมีการออกในช่วงของคืนวันศุกร์
3. หากในคำทำนายของ forexfactory ออกไปในแนวทางที่เป็นโฟลเดอร์สีแดงแล้ว ขอให้เตรียมตัวให้พร้อม
4. เปิดกราฟรอก่อนข่าวออกอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการพลาดโอกาสในการทำกำไร
หากคุณเป็นนักเทรดมือใหม่ ขอแนะนำว่าโปรดอย่าเทรดโดยเด็ดขาด เพราะว่าคุณอาจยังไม่ชำนาญในการเปิดหรือปิดออเดอร์ อันส่งผลให้คุณนั้นอาจเจอล้างพอร์ตแบบไม่ได้กระพริบตาเลย
กล่าวโดยสรุป Nonfarm Payrolls เป็นดัชนีนำทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ที่มีการประกาศทุก ๆ วันศุกร์แรกของเดือน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการรวบรวมตัวเลขสถิติจากการจ้างงาน นอกจากการจ้างงานในภาคเกษตร, ในครัวเรือน, และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งบ่งบอกถึงสถิติตัวเลขการจ้างงานอย่างละเอียด โดยเป็นการรวบรวมอัตราการเปลี่ยนแปลงต่อเดือน หมายถึงปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่ง Nonfarm Payrolls จึงเป็นตัวที่บ่งบอกถึงทิศทางของเศรษฐกิจด้วยครับ
ถึงแม้ Nonfarm Payrolls ไม่ได้นำมาใช้วัดในประเทศไทยเราโดยตรง แต่อย่าลืมประเทศสหัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้นหากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาไปในทิศทางไหน ก็ส่งผลต่อประเทศไทด้วยครับ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องติดตาม Nonfarm Payrolls ด้วยนะครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ดังนี้
คลังบทความความรู้ทั่วไป: คลิกที่นี่
บทความรีวิวโบรกเกอร์ : คลิกที่นี่
คลังคำศัพท์พื้นฐานในตลาด Forex เพิ่มเติม : คลิกที่นี่