มาตรการ QE คืออะไร และส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ?

  Posted on 3 years ago (Aug 30, 2021)
2769
List of content
มาตรการ QE คืออะไร และส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจ?

ปัจจุบัน เรื่องที่กำลังได้รับความสนใจในช่วงนี้ คือประเด็นการทำ QE แต่เชื่อว่าหลายๆ คนก็กำลังเกิดข้อสงสัยกันใช่ไหมครับว่า มาตรการ QE คืออะไร แล้วส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ? วันนี้ทางทีมงาน ForexLearning จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมๆ กันครับ

 

มาตรการ QE

มาตรการ QE หรือ Quantitative Easing เป็นรูปแบบหนึ่งนโยบายทางการเงินที่ไม่เป็นทางการ ที่ซึ่งธนาคารกลางได้ทำการซื้อหลักทรัพย์ระยะยาว (Long-term Securities) จากตลาดการค้าเสรี (Open Market) โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณเงิน และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนและการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งการซื้อหลักทรัพย์เหล่านี้ก็จะถือว่าเป็นการเพิ่มเงินเข้ามาในเศรษฐกิจนั่นเอง และยังเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยโดยการประมูลตราสารหนี้ นอกจากนี้ยังขยายงบดุลของธนาคารกลาง

หลักการของ QE

นาคารกลางจะทำการเพิ่มปริมาณเงินในระบบโดยจัดซื้อหลักทรัพย์ต่างๆ และพันธบัตรรัฐบาล อีกทั้งยังทำการลดดอกเบี้ย และเมื่อดอกเบี้ยลดลง ธนาคารก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

สรุปง่ายๆ คือมาตรการ QE มีจุดประสงค์ที่จะกระตุ้นการไหลเวียนของเงินในระบบ โดยทำอย่างไรก็ได้ให้เงินในระบบมีมากขึ้นนั่นเอง

ทุกประเทศสามารถทำ QE ได้หรือไม่?

 

ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประเทศเล็กๆ จะออกมาตรการนี้ได้ครับ โดยการทำ QE สามารถเป็นกรณีที่ใช้เงินที่มีอยู่แล้วเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่ต้องการสนับสนุน แต่ในหลายกรณี เช่น มาตรการ QE สหรัฐ มีการ "พิมพ์เงิน" เพิ่มเข้าไปในระบบด้วย

 

การพิมพ์เงินทำให้สมดุลของปริมาณเงินในระบบเปลี่ยนไป ถ้าไม่ใช่ประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งจะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะทั่วโลกจะไม่ยอมรับหรือไม่ให้ความเชื่อถือต่อสกุลเงินของประเทศดังกล่าว แต่กรณีของสหรัฐ ได้ "บุญเก่า" จากการที่ U.S. Dollar ถูกใช้เป็นเงินทุนสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

 

นอกจากนี้ การซื้อขาย สินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก (Commodity) โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกอุตสาหกรรมอย่าง "น้ำมันดิบ" ก็ยังต้องซื้อขายกันเป็น U.S. Dollar ทำให้แม้ว่าสหรัฐฯ จะยังพิมพ์เงิน QE อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าทั่วโลกเชื่อมั่นในดอลลาร์ (ไม่ว่าจะเชื่อมั่นอย่างเต็มใจหรือไม่ก็ตาม) สหรัฐฯ ก็ยังสามารถทำ QE ได้โดยไม่มีปัญหา

 

ข้อดีของ QE

 

ข้อดีของ QE สามารถสังเกตที่ความได้จากผู้คนหรือบริษัทภายในประเทศเริ่มรู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจ และเริ่มรู้สึกว่าการกู้ยืมเงินหรือการไปเป็นหนี้คนอื่นเป็นสิ่งที่อาจจะส่งผลอันตรายของสถานภาพทางการเงินของพวกเขา?

QE จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในสภาวะแบบนี้ ย้ำอีกครั้งว่า นโยบาย QE มีผลกระทบต่อปริมาณเงินในระบบ มันจะกระตุ้นการไหลเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลในเชิงจิตวิทยาทางเศรษฐกิจด้วย เพราะหากธุรกิจเริ่มใช้จ่าย คนเริ่มรู้สึกว่า "รัฐกำลังอัดเงิน" มีเงินไหลเวียนเยอะ คนจะกล้าใช้จ่าย และทำให้เงินมีการไหลเวียนมากขึ้นจริงๆ ตามที่รู้สึกทางจิตวิทยา

 

ข้อเสียของ QE

 

ปกติแล้วถ้าหาก QE มีข้อดีแล้วย่อมมีข้อเสียเช่นเดียวกัน ในเมื่อเงินมีปริมาณเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลงนั่นเอง หรือที่เราเรียกว่าการเกิดภาวะ “เงินเฟ้อ” ดังนั้น การทำ QE ต้องพิมพ์เงินอัดเงินในระดับที่ไม่เร็วเกินไป, ช้าเกินไป หรือมากเกินไป โดยธนาคารกลางจะใช้ CPI หรือดัชนีเงินเฟ้อเป็นมาตรวัดว่า ควรจะทำ QE ต่อไปดีหรือไม่ ควรจะทำในปริมาณเท่าใด โดยทั่วไปมักคุมเงินเฟ้อไว้ในกรอบ 2% ถึง 5% ต่อปี

 

กล่าวโดยสรุป

 

QE คือการเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนภายในประเทศและการปล่อยสินเชื่อให้คนในประเทศเข้ามาทำการกู้ยืม โดยประเทศแรกที่ได้ทำ QE คือประเทศญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างไรการทำ QE ก็ไม่สามารถทำได้ตามใจครับ เพราะประเทศที่สามารถทำ QE ได้ส่วนมากนั้นต้องเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ซึ่งที่กล่าวมาทุกคนจะสังเกตเห็นได้ว่านโยบายทางการเงินมีผลค่อนข้างมากต่อค่าเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น USD หรือ EUR เป็นต้น ซึ่งนักเทรดควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานตรงนี้ไว้ด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเทรดด้วยครับ

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ดังนี้ 

 

คลังบทความความรู้ทั่วไป : คลิกที่นี่

 

บทความรีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม : คลิกที่นี่

 

คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ : คลิกที่นี่

 


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม