Nonfarm Payrolls คืออะไร?

  Posted on 3 years ago (Jul 08, 2021)
3154
List of content
Nonfarm Payrolls คืออะไร?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Nonfarm payroll โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศปี 2022 ระบุว่ามีมูลค่ากว่า 855 ล้านล้านบาท ถือว่าใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก จึงไม่แหลกเลยที่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ต่างให้ความสนใจ วันนี้ทาง Forexlearning จึงอยากมาพูดถึง Nonfarm Payrall ความเกี่ยวข้องกับตลาด Forex กันครับ

 

ความเป็นมา Nonfarm Payrolls

ดัชนีเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1970 หรือคิดเป็นเวลากว่า 50 ปี โดยมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดของการจ้างงาน ในปี 1983 ซึ่งเป็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังจากที่ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจละตินอเมริกาช่วงปี 1980 ถือว่ามีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากนั้น เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในภายหลัง

Nonfarm Payrolls คือ ?

Nonfarm Payrolls คือ ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศทุกๆ วันศุกร์แรกของแต่ละเดือน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่านการรวบรวมตัวเลขทางสถิติการจ้างงานในภาคการบริการ, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรม โดยไม่นับรวมไปถึงการจ้างงานในภาคการเกษตร, ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหากำไรโดยกรมสถิติแรงงานของสหรัฐ

Nonfarm Payrolls แสดงถึงอะไร ?

Nonfarm Payrolls คือสถิติแสดงตัวเลขการจ้างงานอย่างละเอียด โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะถูกแบ่งออกเป็นรายอุตสาหกรรม รวมถึงการแสดงสถิติในรูปแบบประชากรศาสตร์ โดยเป็นการรวบรวมอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งหมายถึงปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตรงนี้ก็จะแสดงถึงการขยายและหดตัวทางเศรษฐกิจได้


"ถ้าหากเศรษฐกิจดี ก็จะมีการจ้างงานสูงขึ้น อัตราการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการก็จะสูงเพิ่มขึ้นด้วย

ถ้าหากเศรษฐกิจไม่ดี อัตราการจ้างงานก็จะต่ำลง อัตราการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการก็จะต่ำลงเช่นกัน"


ซึ่งในจุดนี้ก็จะสะท้อนมุมมองทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการว่าควรจะลงทุนในกิจการตัวเองอย่างไรบ้าง และควรลงทุนกับอะไรบ้างครับ

ทำไมนักลงทุนถึงต้องให้ความสนใจ Nonfarm Payrolls

การลงทุนเกี่ยวข้องกับ Nonfarm Payrolls ซึ่งมีการจ้างงานเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งการจ้างงานหมายความว่าประชาชนมีงานทำมากขึ้น เมื่อประชาชนมีงานทำกันมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีรายได้ในกรจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งการใช้จ่ายในการบริโภค (Consumption) ของประชาชนสหรัฐอเมริกาคิดเป็นกว่า 75% ของมูลค่า GDP สหรัฐอเมริกา ในขณะที่จำนวนสถิติผู้ใช้แรงงาน ที่อยู่นอกภาคเกษตรมีสัดส่วนมากกว่า 80% นั่นหมายความว่าตัวเลขของ Nonfarm Payrolls คือตัวเลขที่สะท้อนมูลค่าและเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

ตัวอย่างในช่วงโควิด-19 ที่สหรัฐอเมริกาไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติได้และทำการปลดพนักงาน เนื่องจากการทำธุรกิจไม่สามารถดำเนินไปดังเดิมได้ และเมื่อประชาชนภายในประเทศโดยปล้นออกจากงาน จึงทำให้้ประชาชนไม่กล้าใช้จ่าย จึงส่งผลให้ GDP สหรัฐอเมริกาในไตรมาส 2 ติดลบมากกว่า 30% เป็นต้นครับ

วิธีการติดตามข่าว Nonfarm Payrolls

1. การติดตามข้อมูลเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ forexfactory.com

2. ข่าวจะมีการออกในช่วงของคืนวันศุกร์

3. หากในคำทำนายของ forexfactory ออกไปในแนวทางที่เป็นโฟลเดอร์สีแดงแล้ว ขอให้เตรียมตัวให้พร้อม

4. เปิดกราฟรอก่อนข่าวออกอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการพลาดโอกาสในการทำกำไร

ข้อควรระวังในการเทรดโดยใช้ ข่าว Nonfarm Payrolls

หากคุณเป็นนักเทรดมือใหม่ ขอแนะนำว่าโปรดอย่าเทรดโดยเด็ดขาด เพราะว่าคุณอาจยังไม่ชำนาญในการเปิดหรือปิดออเดอร์ อันส่งผลให้คุณนั้นอาจเจอล้างพอร์ตแบบไม่ได้กระพริบตาเลย

กล่าวโดยสรุป Nonfarm Payrolls เป็นดัชนีนำทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ที่มีการประกาศทุก ๆ วันศุกร์แรกของเดือน โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการรวบรวมตัวเลขสถิติจากการจ้างงาน นอกจากการจ้างงานในภาคเกษตร, ในครัวเรือน, และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งบ่งบอกถึงสถิติตัวเลขการจ้างงานอย่างละเอียด โดยเป็นการรวบรวมอัตราการเปลี่ยนแปลงต่อเดือน หมายถึงปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่ง Nonfarm Payrolls จึงเป็นตัวที่บ่งบอกถึงทิศทางของเศรษฐกิจด้วยครับ

ถึงแม้ Nonfarm Payrolls ไม่ได้นำมาใช้วัดในประเทศไทยเราโดยตรง แต่อย่าลืมประเทศสหัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ดังนั้นหากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาไปในทิศทางไหน ก็ส่งผลต่อประเทศไทด้วยครับ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องติดตาม Nonfarm Payrolls ด้วยนะครับ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ดังนี้

คลังบทความความรู้ทั่วไป: คลิกที่นี่

บทความรีวิวโบรกเกอร์ : คลิกที่นี่

คลังคำศัพท์พื้นฐานในตลาด Forex เพิ่มเติม : คลิกที่นี่


บทความ แนะนำ
คอร์สเรียน Forex ยอดนิยม