บทความนี้จะพาไปสำรวจ Indicator ที่ได้ชื่อว่า เป็น Indicator ที่นิยมอย่างมากที่สุดใน Forex ซึ่งจะบอกว่ามี Indicator ตัวไหนที่เป็นที่นิยมบ้าง และยังบอกถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานอีกด้วย แล้ว Indicator ที่ว่านั้น จะมีตัวไหนบ้าง ไปดูกันเลย
1. Moving Average (MA)
Moving Average (MA) หรือที่เรียกว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็น Indicator ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีลักษณะเป็นเส้นที่เคลื่อนไหวตามราคาหุ้น หรือ ดัชนี ซึ่งเป็น Indicator ที่เป็นการนำราคาที่มีความผันผวนของแต่ล่ะวันมาหาค่าเฉลี่ย โดยการใช้ข้อมูลย้อนหลัง ตามช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานกำหนด (Period) ซึ่งเป็นเครื่องมือ อินดิเคเตอร์ใช้งานง่าย และนักลงทุนนิยมใช้ โดยจะแสดงเป็นเส้นเรียบ (Smooth) ในกราฟ เพื่อให้ดูง่ายและสะดวกต่อการใช้บอกแนวโน้ม (Trend) ของตลาดที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตว่าควรจะไปทางไหน อีกทั้งยังสามารถใช้บอกแนวรับ แนวต้านของตลาดหุ้นหรือค่าเงิน รวมทั้งจุดซื้อ ขายเบื้องต้นได้ด้วย และในปัจจุบัน เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ได้มีการพัฒนาต่อยอดแตกแขนงออกมาหลากหลายประเภท เช่น Simple Moving Average (SMA), Exponential Moving Average (EMA), Weighted Moving Average (WMA) เป็นต้น
การใช้ Moving Average จะช่วยลดความสับสนที่จะเกิดขึ้นในการเทรด และสามารถเลือกกำหนดค่า Moving Average แบบ 20 วัน 50 วัน 100 วัน และ 200 วัน ได้อีกด้วย
Moving Average (MA) ใช้ยังไง ?
ใช้ข้อมูลของราคาหุ้นย้อนหลังตามที่ระยะเวลาที่เรากำหนด เช่น ถ้าเราสนใจค่าของ Moving Average ระยะเวลาย้อนหลัง 5 วัน เราจะใช้ราคาหุ้น 5 วันย้อนหลังนับจากวันปัจจุบัน มาคำนวณด้วยสูตรของค่าเฉลี่ยประเภทที่เราสนใจ
Moving Average ทุกประเภทจะใช้หลักการเดียวกัน คือ การหาค่าเฉลี่ยของราคา แล้วนำมาวาดเป็นกราฟเส้น แต่สิ่งที่แตกต่างกันของ Moving Average แต่ละประเภ คือ การให้น้ำหนักของข้อมูลแต่ละตัวที่แตกต่างกันก่อนนำมาคำนวณค่าเฉลี่ย
วิธีการอ่านสัญญาณซื้อ/ขาย จาก Moving Averge (MA)
- สัญญาณซื้อ (Buy Signal) เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้น หรือ ดัชนี อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
- สัญญาณขาย (Sell Signal) เกิดขึ้นเมื่อ ราคาหุ้น หรือ ดัชนี อยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
กราฟจาก TradingView : Moving Average 20/50/100/200 ; Timeframe 4h
สำหรับประโยชน์ของ MA นั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้เพื่อดูพฤติกรรมของตลาดที่ผ่านมาในอดีตว่าเป็นอย่างไร และยังใช้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการคาดการณ์ทิศทางของตลาดในอนาคตว่าจะไปในทิศทางไหน อีกทั้งยังสามารถเพื่อใช้บอกแนวรับและแนวต้านของตลาด หรือชี้จุดซื้อและขายเบื้องต้นของตลาดได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ตัวชี้วัดนี้ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากปกติแล้วหากตลาดกำลังอยู่ในสภาวะที่ราคาไม่มีทิศทางที่แน่นอน หรือ เคลื่อนที่ในกรอบแคบ ๆ การใช้ MA กลับกลายเป็นมีข้อเสียมากกว่า เนื่องจากบ่อยครั้งที่สัญญาณที่ได้จะกลายเป็นสัญญาณหลอกแทน
2. Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator เป็นตัวชี้วัดโมเมนตัมที่นิยมใช้กันอย่างมาก โดยถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1950 สำหรับหลักการทำงานของมันก็คือการบอกว่าราคามีการเปลี่ยนแปลงคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งความอ่อนไหวของ Stochastic จะเป็นตัวแสดงความอ่อนไหวของตลาดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่เรากำหนด เช่น ถ้าเราตั้งค่า Stochastic 8 นั่นก็คือ เวลาที่เรากำหนดคือกรอบ 8 แท่งของแท่งเทียน หรือแท่งราคา ซึ่งผลของการคำนวณจะออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับจำนวนแท่งที่ใช้ในการคำนวณทั้งหมด
กราฟจาก TradingView : Stochastic Oscillator ; Timeframe 4h
Stochastic Oscillator จะถูกผูกไว้กับช่วงเวลา ซึ่งหมายความว่าจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 เสมอ ซึ่งนี่ทำให้มันเป็นตัวบ่งชี้ที่มีประโยชน์ในการระบุ Overbought Oversold โดยหากอ่านค่าได้มากกว่า 80 ถือว่าอยู่ในช่วง overbought ซื้อเกิน และการอ่านที่ต่ำกว่า 20 ถือว่าเป็น Oversold อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกถึงการกลับตัวที่จะเกิดขึ้นเสมอไป แนวโน้มที่แข็งแกร่งสามารถรักษาสภาพการซื้อเกินหรือขายเกินได้เป็นระยะเวลานาน ในทางกลับกัน นักเทรดควรมองหาการเปลี่ยนแปลงใน สโตแคสติก ออสซิลเลเตอร์ เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มในอนาคต
3. Bollinger Bands (BB)
Bollinger Bands (BB) เป็น 1 ในเครื่องมือ Technical analysis ที่โด่งดัง ถูกคิดค้นโดยนาย John Bollinger หลายคนจะรู้จักว่าเป็นเครื่องมือที่ไว้วัดความผันผวนของราคาได้รับความนิยมไปอย่างแพร่หลายในการเทรด Forex เนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลายและสามารถพลิกแพลงเทคนิคให้แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องบอกเลยว่าเป็น Indicator ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบการเทรด และในหลากหลายสินค้าการเทรด ไม่ว่าจะใช้ดูหุ้น, ทองคำ, Index, น้ำมัน และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ Bollinger Bands เป็นที่นิยมในหมู่นักเทรดเดอร์ทั่วโลก
กราฟจาก TradingView : Bollinger Bands 20 ; Timeframe 4h
วิธีการใช้ Bollinger Bands (BB)
1. ใช้หาแนวโน้มของกราฟราคาได้ว่าจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด
- ลักษณะแนวโน้มขาขึ้น กราฟราคาจะวิ่งอยู่ใน เส้นขอบบนและเส้นตรง
- ลักษณะแนวโน้มขาลง กราฟราคาจะวิ่งอยู่ใน เส้นขอบล่างและเส้นตรงกลาง
2. ใช้วัดความผันผวนของคู่เงิน ว่าคู่เงินมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน
- ถ้าคู่เงินนั้นมีความผันผวนมาก Indicator Bollinger Bands ทั้ง 3 เส้น จะถ่างออกห่างกันมาก
- ถ้าคู่เงินนั้นมีความผันผวนน้อย Indicator Bollinger Bands ทั้ง 3 เส้น จะอยู่ใกล้กัน
3. ใช้ดู Overbought Oversold เพื่อหาว่าตอนนี้ราคาแพงเกินไป หรือถูกเกินไป
- โซน Overbought หรือ โซนที่มีปริมาณการซื้อมากเกินไป กราฟราคาจะขึ้นไป ทะลุเส้น Upper Band
- โซน Oversold หรือ โซนที่มีปริมาณการขายมากเกินไป กราฟราคาจะลงมา ทะลุเส้น Lower Band
4. Relative Strength Index (RSI)
Relative Strenght Index (RSI) เป็นอีกอินดิเคเตอร์หนึ่งที่นักลงทุนทั่วโลกนิยมใช้งานกัน ที่แม่นยำที่สุดตัวหนึ่ง จัดอยู่ในหมวด Indicator เป็นเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิคประเภท Momentum เป็นอัตราส่วนของราคาปิดที่สูงขึ้นและต่ำลง หลัก ๆ ไว้วัดความแข็งแกร่งของราคา RSI นั้นได้รับการพัฒนา โดน J. Welles Wilder ในปี 1978 และยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่าราคามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือภาวะการขายมากเกินไป (Oversold) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-100 Relative Strength Index (RSI) เป็นที่นิยมในทุกตลาด รวมถึงตลาดของสกุลเงินดิจิทัลด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค
กราฟจาก TradingView ; Relative Strenght Index 14 ; Timeframe 4h
วิธีอ่านสัญญาณ The Relative Strength Index (RSI)
- เมื่อเส้น RSI ตัดผ่าน 70 คือตลาดมีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought)
- เมื่อเส้น RSI ตัดผ่าน 30 คือตลาดมีภาวะการขายมากเกินไป (Oversold)
- หากเส้นอยู่ในระดับ 30-70 ถือว่าปกติ (Neutral)
ภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought)
คือ เมื่อราคาพุ่งสูงมาก ๆ จนคนไม่กล้าซื้อต่อ เพราะเกรงว่าหากซื้อในราคา ณ ตอนนั้น อาจจะทำให้ขายต่อไม่ออกนั่นเอง ซึ่งภาวะซื้อมากเกินไป สามารถบ่งชี้ได้ว่าราคาอาจลดลงแม้จะอยู่ในสภาวะขาขึ้นก็ตาม
ภาวะขายมากเกินไป (Oversold)
คือ เมื่อราคาต่ำลงมาก ๆ หรือเกิดการขายจำนวนมากขึ้น จนเริ่มมีราคาถูก ทำให้ผู้ที่ต้องการซื้ออยากซื้อมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าราคาอาจจะฟื้นตัวกลับมาสูงขึ้นได้แม้ว่าในตอนนั้นราคาจะมีสภาวะขาลง
วิธีการใช้ Relative Strength Index (RSI)
วิธีใช้งานอย่างง่ายดาย น้อยกว่า 30 คือ Oversold ให้ (ซื้อ) มากกว่า 70 คือ Overbought ให้ (ขาย)
กราฟจาก TradingView : Relative Strenght Index 14 ; Timeframe 4h
5. Moving Average Convergence Divergence (MACD)
Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็น Indicator forex ที่แม่นยำที่สุดและเป็นที่นิยมใช้กันมาก ๆ อีกตัว ซึ่งจุดเด่นของตัวนี้ คือการหาการเปลี่ยนแปลงของ Momentum จากการเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของเส้น MA หรือ Moving Average 2 เส้น โดยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่เป็นผลต่างระหว่าง EMA (12) วัน EMA (26) วัน วิ่งตัดกันกับ Signal Line EMA (9) วัน
กราฟจาก TradingView : Moving Average Convergence Divergence 12,26 ; Timeframe 4h
วิธีการใช้ Moving Average Convergence Divergence (MACD)
- ใช้บอกแนวโน้มของราคาหุ้น (Trend) และสัญญาณเตือน เท่านั้น
วิธีอ่านสัญญาณการเข้าเทรดทำกำไร
- ดูจากเส้น MACD เมื่อเส้น MACD เคลื่อนตัวขึ้นเหนือเส้น Signal ให้เข้าเปิดออเดอร์ Sell
- ถ้าหากเส้น MACD เคลื่อนตัวลงทะลุผ่านเส้น Signal ลงมา ให้เข้าเปิดออเดอร์ Buy
ทั้งนี้ต้องทำการศึกษาและเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ใช้ให้ถูกต้องตามจุดเด่นของแต่ละตัว และใช้ให้ตรงกับสินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุน และเพื่อสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการลงทุนได้ เราก็จะใช้ Indicator ในการสร้างกำไรจากการเทรดได้ โดยเฉพาะ Indicator ที่เราได้กล่าวไปทั้งหมด ถือว่าเป็นยอดนิยมของไทยเรา ที่มีการใช้งานหลากหลาย มีประสิทธิภาพ และจะประสบความสำเร็จการเทรดในตลาด Forex ได้ไม่ผิดหวังแน่นอน
6. Fibonacci Retracement
Fibonacci Retracement คือเส้นในแนวนอนที่ระบุตำแหน่งแนวรับและแนวต้านที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น โดยยึดตามตัวเลข Fibonacci ในแต่ละระดับมีความเกี่ยวข้องกับเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวก่อนหน้าที่ราคาย้อนกลับ ซึ่งระดับการย้อนกลับของ Fibonacci คือ 23.6%, 38.2%, 61.8% และ 78.6% เป็นต้น ตัวชี้วัดนี้มีสามารถลากไปมาระหว่างจุดราคาที่สำคัญสองจุด เช่น สูงและต่ำ จากนั้นตัวชี้วัดจะสร้างระดับระหว่างจุดสองจุดนั้น
ตัวอย่างเช่น ราคาของสกุลเงินเพิ่มขึ้น $10 แล้วลดลง $2.36 ในกรณีนี้แสดงว่ามันได้ถอยกลับ 23.6% ซึ่งก็คือเป็นตัวเลข Fibonacci นั่นเอง
กราฟจาก TradingView : Fibonacci Retracement ; Timeframe 4h
ทั้งนี้ส่วนที่สำคัญที่สุดของตัวชี้วัด Fibonacci คืออัตราส่วนทองคำที่ 61.8% โดยในตลาด Forex นักเทรดใช้อัตราส่วนนี้เพื่อระบุการ กลับตัวของตลาดและพื้นที่การทำกำไร หากราคาเคลื่อนไหวพร้อมกับแนวโน้ม แล้วเคลื่อนตัวไปอยู่ที่ระดับ 61.8% ของ Fibonacci Retracement และแสดงสัญญาณการกลับตัว ราคาก็มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ต่อไปในทิศทางที่กลับกัน
ประโยชน์ของ Indicator Forex
1. สามารถบอกสัญญาณซื้อหรือขายได้ ถ้าเราใช้เครื่องมือ Indicator จะช่วยบอกจุดที่จะต้องเปิดคำสั่งซื้อ ขายได้ตามเงื่อนไขของเครื่องมือที่เราได้ตั้งขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย
2. ใช้เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้า หรือแนวโน้มหลักว่าเป็นไปในทิศทางใด เพื่อรอจังหวะซื้อขาย หรือปิดออร์เดอร์ที่ดี
3. เพิ่มความมั่นใจในการเทรด Indicator จะช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือของกราฟหรือช่วยเราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการวิเคราะห์กราฟว่าจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นหรือขาลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่านักเทรดเดอร์ใช้ Indicator ประเภทไหน
4. ช่วยลดความเสี่ยงในการเทรด เครื่องมือ Indicator ยังสามารถลดความเสี่ยงในการเปิดคำสั่งซื้อขายของเราเองได้ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ จากกราฟ ในการวิเคราะห์หาทิศทางและแนวโน้มของกราฟราคา
บทสรุป
ไม่ว่าจะเป็น Indicator ตัวไหน แม่นยำแค่ไหน แต่ถ้าไม่หากเราไม่ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้แล้วนั้น ก็อาจจะทำให้คุณไม่สามารถทำกำไรจากตลาด Forex ได้อย่างแน่นอน และจงจำไว่เสมอว่าไม่มีตัวชี้วัด forex ใดที่สมบูรณ์แบบ 100% คุณควรที่จะตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวบ่งชี้และปรับปรุงกลยุทธ์การซื้อขายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดอยู่เสมอ และแน่นอนว่าการลงทุนทุกอย่างล้วนมีความเสี่ยง จึงควรลงทุนในจำนวนที่คุณสามารถแบกรับความเสี่ยงได้เท่านั้น
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ตามแหล่ง ดังต่อไปนี้
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! คลิกที่นี่
คลังบทความความรู้ทั่วไป คลิกที่นี่
โบรกเกอร์สำหรับมือใหม่ คลิกที่นี่
บทวิเคราะห์รายวัน คลิกที่นี่