ICHIMOKU Kinko Hyo ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า Ichimoku เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สร้างอยู่บนกราฟแท่งเทียน เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคา โดยมันถูกพัฒนาในช่วงปลายปี 1930 โดย Goichi Hosoda ซึ่งเป็นนักวารสารชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันคือ Ichimoku Sanjin ซึ่งสามารถแปลความหมายได้ว่า สิ่งที่ผู้ชายที่อยู่บนเขาได้เห็น เขาใช้เวลากว่า 30 ปี ทำให้เทคนิคนี้สมบูรณ์แบบ ก่อนที่จะเผยแพร่ให้กับสาธารณชน ในปี 1960
ส่วน Ichimoku Kinko Hyo สามารถแปลความหมายได้ว่า ความสมดุลภายในการเหลือบมองเพียงครั้งเดียว ซึ่งบางครั้งอาจจะเรียกว่า One Glance Cloud Chart ซึ่งอยู่บนเทคนิคที่เรียกว่า Clouds ที่เป็นลักษณะของ Ichimoku Charting
Ichimoku เป็นเครื่องมือที่อยู่บนพื้นฐานของ เส้น MA ที่บอกเทรนด์ เป็นระบบการบอกเทรนด์อย่างหนึ่งเพราะว่า มันประกอบไปด้วยกราฟแท่งเทียน ที่ให้ภาพของ Price Action ได้ด้วย ความต่างของ Moving Average กับ Ichimoku คือวิธีการที่เส้น Ichimoku สร้าง โดยใช้ 50 % ของราคา High และราคา Low แทนที่จะใช้ราคาปิดในการคำนวณ โดย Ichimoku นั้นใช้ปัจจัยเรื่องเวลาในการเพิ่มองค์ประกอบในการตัดสินใจ ซึ่งคล้ายคลึงกับ แนวคิดการเทรดของ William Delbert Gann
ภาพที่ 1 Ichimoku คืออะไร – ภาพ ichimoku indicator
ในโลกตะวันตก มันถูกเรียกว่าเป็น Graphic Environment เนื่องจากความจริงที่ว่า ผู้เขียนไม่ได้แปลคู่มือการใช้งานเป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน หรือ สเปน อย่างไรก็ตาม อิชิโมกุยังถูกรวมเข้ากับทฤษฎีอื่นที่ทำให้เครื่องมือดีขึ้น ซึ่งได้แก่ Time Theory , Wave Movement Theory และ Target Price Theory
องค์ประกอบของ Ichimoku Graphic Environment
Indicator Ichimoku มีองค์ประกอบหลัก ๆ 5 ส่วน โดยจะขออธิบายเป็นส่วน ๆ ไปและสามารถหาได้ในโปรแกรม MT4 ซึ่ง สามารถ Add ค่าได้เลย และมันจะแสดงชื่อเรียกต่าง ๆ โดยเราจะแสดงให้มันสอดคล้องและเรียงลำดับพร้อมกับข้อมูลเบื้องต้นดังต่อไปนี้
ภาพที่ 2 Ichimoku คืออะไร – การตั้งค่า Ichimoku
Tenkan-Sen – การคำนวณ Tenkan sen ทำได้โดยใช้ ราคา (Highest High + Lowest Low)/2 ในช่วง 9 แท่งที่ผ่านมา มันถูกใช้เป็นเส้นสัญญาณหลักในการเทรด ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นเส้นจุดเปลี่ยนของเทรนด์ โดยใช้ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุดในช่วง 9 แท่งที่ผ่านมา โดยมีเนื้อความดังนี้ “ Tenkan Sen คือ indicator ที่บอกเทรนด์ของตลาด ถ้าเส้นสีแดงเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง มันบอกว่าตลาดกำลังมีเทรนด์ ถ้ามันเคลื่อนไหวเป็นแนวนอนหมายความว่าตลาดนั้นเคลื่อนไหวแกว่งตัว
ภาพที่ 3 Ichimoku คืออะไร – แสดงเส้น Tenkan – Sen
ภาพที่ 3 แสดง เส้น Tenkan Sen ในเส้นสีแดงที่อยู่ในกรอบสีเหลี่ยมสีเหลือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับแรก และเป็นเทรนด์ที่บอกเทรนด์เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของเส้นนี้จะบอกการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ได้ทันที
Kijun-Sen การคำนวณ (Highest high + Lowest low)/2 สำหรับแท่งเทียนที่คำนวณคือ 26 แท่งที่ผ่านมา มันคือเส้นยืนยันสัญญาณเทรด เส้นแนวรับแนวต้าน และสามารถใช้เป็นเส้น Trailing Stop เส้น Kijun Sen ทำหน้าที่เป็น Indicator ของราคาในอนาคต ถ้าราคาสูงกว่าเส้นสีน้ำเงิน มันสามารถไต่ขึ้นสูงกว่าเดิม ถ้าราคาอยู่ต่ำกว่าเส้นสีน้ำเงิน มันก็จะลงได้มากกว่าเดิม
ภาพที่ 4 Ichimoku คืออะไร – แสดงเส้น kijun-Sen
เส้นนี้คือเส้นให้สัญญาณการเทรดที่ทำหน้าที่ให้สัญญาณกับเส้น Tenkan Sen ซึ่งหลักการใช้งานก็เหมือนกันกับเส้น Moving Average การกำหนดเทรนด์จะต้องกำหนดจากเส้น Tenkan Sen และ Kijun Sen ร่วมกัน หมายความว่า ถ้าหากเทรนด์ขาขึ้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเส้น Tenkan Sen นั้นอยู่สูงกว่า Kijun Sen คือเทรนด์ขาขึ้น ขณะที่เทรนด์ขาลงคือ Tenkan San นั้นอยู่ต่ำกว่า Kijun Sen นอกจากนี้มันยังทำหน้าที่เป็นเสมือนแนวรับแนวที่สองของเทรนด์ขาขึ้นในกรณีที่มีการเปลี่ยนเทรนด์
Senkou Span A การคำนวณ (Tenkan-sen + Kijun-sen)/2 ใช้โพสต์ไปข้างหน้า 26 แท่งข้างหน้า ซึ่งเรียกว่า Leading Span 1 ซึ่งเส้นนี้ทำให้เกิด kumo หรือ cloud ถ้าราคาอยู่สูงกว่า Senkou span ดังนั้นเส้นแรกคือ ระดับแนวรับแรก ขณะที่เส้นล่างคือแนวรับที่ 2
Senkou Span B คำนวณจาก (highest High + lowest low)/2 ใช้คำนวณกับแท่งที่ผ่านมา 52 แท่ง แต่ว่าพล็อตไปข้างหน้า 26 แท่งข้างหน้า เรียกว่า Leading Span 2 เส้นนี้ทำให้เกิด Kumo อีกเช่นกัน
Kumo คือ พื้นที่ระหว่าง Senkou span A และ B หรือเรียวกว่า Cloud หรือ เมฆ เส้นของของเมฆ จะทำหน้าที่เป็นแนวรับแนวต้าน Kumo Cloud จะเปลี่ยนรูปร่างและความสูงขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงราคา ซึ่งความสูงของ Cloud แสดงความผันผวนของการเคลื่อนไหวของราคาที่ทำให้รูปแบบของเมฆสูงขึ้น ซึ่งสร้างแนวรับและแนวต้านที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เมื่อเมฆบางขึ้นจะทำให้เกิดแนวรับแนวต้านที่อ่อนแอ ราคาจะเกิดการเบรครูปแบบเมฆที่บาง
ภาพที่ 5 Ichimoku คืออะไร? – แสดงภาพ Kumo Up และ Down
ภาพ highlight Kumo คือ ภาพก้อนเมฆ 2 ก้อน คือ ก้อนในไฮไลท์สีเหลือง คือ kumo ตอนขาลง โดยที่จะแสดงเป็นกลุ่มเมฆสีม่วงอ่อน ๆ ขณะที่ถ้าหากว่าเป็นกลุ่มเมฆขาขึ้น หรือ Kumo up จะแสดงเป็นสีน้ำตาล โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้แบ่งว่าเป็น Kumo ขาขึ้นหรือขาลงไว้
โดยทั่วไปแล้ว ตลาดจะเป็นภาวะตลาดกระทิงเมื่อ Senkou Span A อยู่สูงกว่า Senkou Span B เมื่อตลาดเป็นตลาดหมี ก็ต่อเมื่อ Senkou Span B อยู่สูงกว่า Senkou Span A เทรดเดอร์มักจะมองหา Kumo กลับด้านกันในอนาคต ซึ่ง Senkou Span A และ B ได้เปลี่ยนตำแหน่งกันเนื่องจากกว่ามันเป็นสัญญาณบอกต่ำแหน่งของการกลับตัวของเทรนด์ที่น่าจะเป็น
นอกจากนี้ความหนาของเมฆ ความแข็งแกร่งของเทรนด์สามารถดูได้จากองศาของมัน ถ้าเทรนด์ขาขึ้นก็จะมีองศาขึ้น และถ้าเป็นขาลงก็จะเป็นตลาดหมีจะมีองศาเอียงลง เมฆใด ๆ ที่อยู่ข้างหลังราคาก็จะแสดงเป็น Kumo Shadows
Chikou Span
Chikou Span คำนวณ : ราคาปิดวันนี้จะถูกพล็อตย้อนหลัง 26 วันในกราฟ ซึ่งถูกเรียกว่า lagging Span ถูกใช้เป็นแนวรับแนวต้น ถ้า Chikou Span หรือ เส้นสีเขียวตัดกับราคาเป็นสัญญาณซื้อ และถ้าเส้นสีเขียวตัดกับราคาจากด้านบนลง คือสัญญาณ Sell
ภาพที่ 6 Ichimoku คืออะไร? – Senkou Span
วิธีการใช้งาน
การใช้งานสำหรับการส่งคำสั่ง Buy Sell สำหรับ Ichimoku นั้นต้องใช้สัญญาณหลายสัญญาณประกอบกัน ซึ่งได้แก่ การตัดกันของเส้นสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งเส้นสีแดงและสีน้ำเงินนั้นจะทำหน้าที่บอกทเรนด์ และบอกแนวรับและแนวต้านแรก
ภาพที่ 7 Ichimoku คืออะไร ? – แสดงจุดเข้าเทรด
ในสี่เหลี่ยมสีเหลืองของภาพที่ 7 จะเห็นว่า สีเหลี่ยมภาพแรกแสดง การตัดกันของเส้นสีแดงและสีน้ำเงิน สีแดงสูงกว่าเส้นสีน้ำเงินหมายความว่า สัญญาณ Buy มาถึงแล้ว แต่เนื่องจากเราต้องการสัญญาณยืนยันในการเทรด เราจะต้องดูเมฆว่ามีการให้สัญญาณเทรดสอดคล้องกันหรือไม่ แต่เนื่องจาก Kumo นั้นถูก โพสต์ไปข้างหน้าถึง 26 แท่งทำให้การดูสัญญาณยืนยันนั้นต้องดูทางด้านขวาของจอ จะปรากฏในสีเหลี่ยมสีเหลืองที่ 2 จะเห็นว่าเมฆนั้นค่อย ๆ ตัดกันขึ้นให้สัญญาณเทรดขาขึ้นเช่นเดียวกันกับ การตัดขึ้นของเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีแดง
ดังนั้น การที่เราจะดูสัญญาณเทรดครั้งต่อไปสำหรับการเทรด สิ่งที่ต้องดูคือ การตัดกันของสีแดงและสีน้ำเงิน และจอด้านขวาสุด ซึ่งก็คือกรอบสี่เหลี่ยมที่ 3 ในตัวอย่าง เพื่อใช้เป็สัญญาณยืนยัน
ส่วนของจุดตัดขาดทุนและการทำกำไร เราสามารถใช้กรอบเมฆในการสร้างแนวรับแนวต้านและสร้างจุดตัดขาดทุน ส่วนจุดทำกำไรนั้นสามารถใช้ราคาที่สูงกว่าก้อนเมฆ หรือว่า ใช้เส้น Chikou Span ในการกำหนดจุดทำกำไร เพราะว่า เส้น chikou Span ก็มีความคล้ายคลึงกับราคาเพียงแต่ว่าถูกโพสต์ไปด้านหลัง ถ้าหากว่าเส้น Chikou Span อยู่สูงกว่า Cloud ก็คือ ต้องหาจุดทำกำไร เนื่องจากราคาอยู่ในจุดสูงกว่าเมฆ Kumo แล้ว