หลายคนคงจะสงสัยว่าในช่วงวิกฤตแบบนี้ ทำไมธุรกิจบางแห่งถึงอยู่รอดได้ ต้องกล่าวก่อนว่าการอยู่รอดได้ท่ามกลางวิกฤต ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต เราอาจจะไม่ได้มองถึงเรื่องผลกำไรเป็นหลัก แต่ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเพราะอะไรบริษัทที่ดำเนินการธุรกิจเหล่านี้จึงมีความแข็งแรงมากกว่าธุรกิจอื่นๆ
เหตุผลข้อที่ 1 ธุรกิจมีรายได้ที่มั่นคง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารายได้คือหัวใจหลักในการทำธุรกิจ หากปราศจากรายได้ธุรกิจก็ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ คำว่ารายได้มั่นคงหมายถึงแม้ว่าสภาพของเศรษฐกิจจะแย่ลงเพียงใด รายได้ของธุรกิจก็ผันผวนไปไม่มากนักจากที่เคยเป็น และถ้าหากหัวใจหลักอย่างรายได้มีความมั่นก็จะนำพาให้ภาพรวมของธุรกิจดีขึ้นไปด้วย
เหตุผลข้อที่ 2 ธุรกิจมีค่าใช้จ่ายคงที่ไม่มากนัก
ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจต้องจ่ายในทุกๆเดือนถึงแม้ว่าเดือนๆนั้นธุรกิจดังกล่าวจะมีรายได้ลดลงก็ตาม และค่าใช้จ่ายคงที่นี้เองคือค่าใช้จ่ายที่หนักหนาที่สุดในยามที่เกิดวิกฤต เพราะว่าในยามวิกฤตที่ไม่มีรายได้เข้ามานั้น ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ยังคงเดิม และธุรกิจที่น่าเป็นห่วงก็ คือธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงแต่มีรายได้ผันผวนไปตามสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจการบิน การโรงแรม และสัมปทานต่างๆ ธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายคงที่ ที่ค่อนข้างสูง
เหตุผลข้อที่ 3 ธุรกิจที่มีหนี้สินไม่มาก
หนี้สินเป็นจุดที่สำคัญอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เพราะถ้าหากธุรกิจมีหนี้สินน้อย ก็หมายถึงมีการผ่อนชำระที่น้อย ดอกเบี้ยน้อย เพราะถึงแม้ว่าจะเจอกับวิกฤตก็สามารถประคองตัวไปได้อย่างไม่ลำบากมากนัก แต่ถ้าหากธุรกิจที่มีหนี้สินเยอะ ต้องผ่อนชำระเยอะ ดอกเบี้ยเยอะ ซ้ำรายยังเจอวิกฤตอีก และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจที่มีหนี้สินน้อยก็คือ สามารถกู้เงินหมุนเวียนเพิ่มเติมได้ เพื่อช่วยประคองธุรกิจไปอีกทางหนึ่ง
เหตุผลข้อที่ 4 ธุรกิจที่มีกระเงินสดที่ดี
หากธุรกิจปราศจากกระแสเงินสด ธุรกิจนั้นก็อาจจะล้มละลายได้ เพราะถึงแม้ว่าธุรกิจขาดทุน แต่ก็ยังคงสามารถดำเนินธุรกิจต่อได้หากยังคงมีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ เช่น การเพิ่มทุน การกู้เพิ่ม แต่ถ้าหากธุรกิจไม่มีเงินทุนหมุนเวียน และยังมีวงจรทางการเงินเป็นจำนวนเงินปริมาณมากๆ ก็อาจจะทำให้ธุรกิจดังกล่าวล้มละลายได้
เหตุผลทั้ง 4 ประมาณที่ได้กล่าว น่าจะทำให้คุณได้รู้แล้วว่าทำไมธุรกิจบางประเภทถึงสามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางวิกฤต และทำไมธุรกิจส่วนใหญ่ถึงไปไม่รอดในวิกฤตครั้งนี้ แล้วธุรกิจของคุณหล่ะเป็นแบบไหน