ในบทความนี้จะมาอธิบายให้ทุกคนฟังว่า ทำไมการบริหารจัดการความเสี่ยงถึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจะวัดความเสี่ยงได้อย่างไร และการบริหารความเสี่ยงนั้นทำให้การลงทุนของเราง่ายขึ้นอย่างไร
1. ใช้ Astute Personal Financial Management
เงินที่นำมาลงทุนควรเป็นเงินที่เราสามารถที่จะเสียไปได้ ข้อห้ามอย่างเด็ดขาดเลยคือห้ามนำบัญชีออมทรัพย์หรือเงินออมของเรามาใช้ในการเทรด เราควรที่จะระบุจำนวนเงินที่คุณสามารถเสียได้ โดยทั่วไปแล้วไม่ควรเกิน 5-10% ของเงินออม
2. ใช้ Notional Capital
สมมติว่าเรามีเงิน $10,000 ในพอร์ตที่เราพร้อมที่จะเสีย และได้ลองเทรดในบัญชี Demo มาแล้วในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา แล้วสเต็ปต่อไปควรทำอย่างไร? เริ่มแรกให้ฝาก 10% ของเงินนั่นก็คือ $1,000 เริ่มเทรดจากไมโครล็อตก่อน โดยหลังจากเดือนแรกหากผลลัพธออกมาดี ให้ใส่เพิ่มเข้าไปอีก 10% ในเดือนที่สอง และเพิ่มขนาดของการเทรด โดยการที่เราทำแบบนี้ก็จะทำให้เงินในบัญชีของเราโตไปพร้อมๆกับประสบการณ์การเทรดของเรานั่นเอง และได้ใช้เวลาในการศึกษาไปในตัวด้วย
3. รู้ถึงประวัติค่าความเป็นไปได้ของกลยุทธที่นำมาใช้ในการเทรด
นักเทรดจำนวนมากที่ยังไม่รู้ซึ้งถึงคอนเซ็ปท์ของการจำกัดความเสี่ยง พวกเขามักจะนำเงินโยนเข้าพอร์ตหารด้วย 100 เพื่อหาค่าความเสี่ยงต่อการเทรด แต่การทำเช่นนี้ไม่ได้ป้องกันคุณจากการขาดทุนหรือการ Overtrade
4. กำหนดขนาดของ Position ให้ดี
ขีดจำกัดความเสี่ยงและการกำหนดขนาดจะเชื่อมโยงกันผ่านความถี่ในการเทรด การซื้อขายบ่อยเกินไปก็ไม่ดี เพราะฉะนั้นจึงอยากแนะนำว่าให้ซื้อน้อยๆแต่มีคุณภาพมากกว่า มันเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีแผนสำรองเพื่อซื้อขายต่อแม้จะขาดทุนเป็นลำดับ และวิธีที่สมเหตุสมผลที่สุดในการบรรลุเป้าหมายนี้คือการลดขนาดลง 50%
ในฐานะเทรดเดอร์ ข้อกังวลหลักของคุณควรเป็นการจัดการความเสี่ยงด้วยกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยง Forex ที่ดี ซึ่งถ้าเป็นไปได้ทำทั้ง 4 วิธีนี้ก็จะป้องกันการเกิดพอร์ตแตกได้แน่นอน