หลักการของแนวรับแนวต้านถือเป็นหัวใจของการวิเคราะห์ การวิเคราะห์แนวรับแนวต้าน มันคือ การที่ราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบใดกรอบหนึ่งเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทำให้เราฉวยโอกาสการเคลื่อนไหวในช่วงนั้นว่า มันจะเคลื่อนไหวขึ้นลงในกรอบนั้น แกว่งไปมาอยู่ในกรอบ ซึ่งเราก็จะอาศัยการเคลื่อนไหวนี้แหละในการหาจังหวะเข้าเทรด ยกตัวอย่างภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 1 แสดงแนวรับแนวต้าน
ในภาพที่ 1 มีเส้น 2 เส้น เส้น ด้านบนคือ แนวต้าน โดยแนวต้าน หมายความว่าเมื่อราคาเคลื่อนไหวขึ้นไปข้างบนก็จะชนแนวราคานั้นและสามารถต้านทานการเคลือนไหวของราคาขึ้นไปได้ ขณะที่แนวรับ คือการที่ราคาเคลื่อนไหวไปที่ระดับราคาล่างก็จะรองรับราคาไม่ให้ตกต่ำไปกว่านั้นได้ทุกครั้ง
วิธีการเทรดก็ไม่ยากเลย คือ ถ้าหากว่า เราสามารถจับแนวรับแนวต้านได้ไว ก็จะสามารถอาศัยช่วงสวิงของราคา เข้า Buy เมื่อมันชนแนวรับ และ Sell เมื่อมันชนแนวต้าน เท่านั้นเอง ยิ่งเข้าได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความได้เปรียบเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น โลกของความเป็นจริงในการเทรด มีปัญหาอีกมากมายที่ส่งผลต่อการเทรด เช่น การที่เรารีบตีกรอบราคาทำให้มันเคลื่อนไหวยังไม่เกิดแนวรับแนวต้านและมันทำให้เราโดนสัญญาณหลอก ขณะที่ในด้านตรงกันข้าม การรอให้เกิดแนวรับแนวต้านนานนั้น ทำให้จังหวะในการเทรดเกิดขึ้นได้น้อย เพียง 1 ครั้ง ก็เพราะว่ามันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับแนวรับแนวต้านเสียก่อน ซึ่งข้อจำกัด 2 ข้อนี้ทำให้การใช้ประยุกต์ใช้แนวรับและแนวต้านไม่ง่ายอีกต่อไป มันต้องใช้ประสบการในการวิเคราะห์
ทำอย่างไรถ้าแนวรับแนวต้านถูกทำลาย?
จากเนื้อหาก่อนหน้าเราพูดถึงว่า เกิดสัญญาณ แนวรับแนวต้านหลอก ทำให้การวิเคราะห์ และจุดเข้าเทรดทำได้ยาก โดยที่ราคาเบรคแนวรับและแนวต้านนั้นไปแล้ว ทำให้เราไม่สามารถใช้แนวรับแนวต้านนั้นได้อีก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ภาพที่ 2 แนวรับแนวต้านถูกทำลาย
ในภาพที่ 2 เป็นภาพแนวรับแนวต้านถูกทำลาย ทั้ง 2 จุด โดยที่หลังจากถูกทำลายครั้งแรกทำให้แนวรับแนวต้านเดิมหมดความน่าเชื่อถือไปตั้งแต่แรกแล้ว ฉะนั้น เมื่อเกิดแนวรับและแนวต้านถูกทำลายสิ่งที่เราควรจะทำคือ เลิกใช้แนวรับแนวต้านเดิมและรอให้มันเกิดแนวรับแนวต้านใหม่อีกครั้งเท่านั้น
แต่สิ่งที่พึงระลึกไว้สำหรับการใช้แนวรับแนวต้าน คือ ถ้าหากมันเจอแนวรับแนวต้านใหม่แล้ว ควรเลิกใช้แนวรับและแนวต้านเดิม การเบรคแนวรับแนวต้านนั้นจะต้องยกเลิกสัญญาณเดิมให้หมด ลบอออกไปจากสาระบบได้เลยยิ่งดี
แนวรับแนวต้านสามารถใช้อะไรกำหนดได้บ้าง?
หลังจากที่เราใช้แนวรับแนวต้านแล้ว เราก็ต้องมาดูว่า แนวรับแนวต้านนั้นเป็นสิ่งที่สามารถใช้เข้าเทรดได้ แล้วแนวรับแนวต้านใช้อะไรกำหนดได้บ้าง การกำหนดแนวรับแนวต้านนั้นสามารถใช้เครื่องมือในการกำหนดได้หลายแบบ เช่น เครื่องมือ Trend Line เครื่องมือประเภท Channel เครื่องมือพิศดารแบบ Fibonacci Retracement เครื่องมือ คลื่นทฤษฎีต่าง ๆ โดยเราจะมาดูตัวอย่างสำหรับการใช้งานวันนี้ซัก 1 ตัวอย่างนั่นคือ การใช้งาน Trend Line กันก่อน เพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนดแนวรับแนวต้าน
เทรนด์ไลน์
เส้นเทรนด์ไลน์เป็นเส้นตีกรอบการเคลื่อนไหวของเทรนด์ อย่างไรก็ตาม คำว่าแนวรับแนวต้านไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถใช้เทรนด์เป็นตัวกำหนดได้ ถ้าหากว่าเราตีความเทรนด์ได้ถูกต้องเราก็สามารถประยุกต์กรอบบนล่างของเส้นเทรนด์ไลน์เป็นแนวรับแนวต้านได้
ภาพที่ 3 เส้นเทรนด์ไลน์และแนวรับแนวต้าน
โดยในภาพตัวอย่างที่ 3 จะเห็นว่า กรอบการเคลื่อนไหวของเทรนด์นั้นเริ่มจากแคบและกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเราสามารถใช้กรอบบนเป็นแนวต้าน และกรอบล่างเป็นแนวรับ โดยการเทรด แทนที่จะเทรดทั้ง 2 ด้านเราสามารถเทรดด้านเดียวได้ โดยเทรดด้านที่เคลื่อนไปกับเทรนด์ เช่น เทรนด์ขาลงก็ให้เทรดเฉพาะแนวต้าน ขณะที่เทรนด์ขาขึ้นก็ให้เทรดเฉพาะแนวรับ