สเปรดคืออะไร และทำไมเราต้องเสียค่าสเปรดให้กับโบรกเกอร์?
คำถามนี้คงจะคาใจนักเทรดที่พึ่งเข้ามาในตลาดหลายๆคน เพราะว่าค่าสเปรดบ่อยครั้งก็เป็นอุปสรรคในการเทรดกับเรา และเราไม่เสียค่าสเปรดได้ไหม หรือจะทำยังไงให้ค่าสเปรดน้อยลง ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาอธิบายความหมายของค่าสเปรด และวิธีการสร้างข้อได้เปรียบจากค่าสเปรดให้กับทุกท่าน
ค่าสเปรด หรือเรียกง่ายๆว่าค่านายหน้า ซึ่งค่านายหน้านี้ ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นแค่ในตลาดฟอเร็กซ์ แต่ค่านายเกิดขึ้นในทุกธุรกิจที่เป็นการบริการ ยกตัวอย่างเช่น คุณไปซื้อทองคำรูปพรรณที่ร้านทองก็ยังมีส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ดังนั้นคุณไม่มีความจำเป็นต้องกังวลกับค่าสเปรดที่เกิดขึ้นแค่คุณควรที่จะเรียนรู้การหาข้อได้เปรียบของค่าสเปรด โดยปกติแล้วสเปรดของตลาดฟอเร็กซ์จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างทั้ง สภาวะตลาด โบรกเกอร์ผู้ให้บริการ ประเภทบัญชี และคู่เงิน ซึ่งทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 10-30 จุด ซึ่งการที่เราซื้อหรือขายในตลอดฟอเร็กซ์ทุกๆออเดอร์ที่เราออกไปจะติดลบก่อนเสมอ และนั้นแหละครับคือค่าสเปรดที่เราเสียให้กับโบรกเกอร์
ตัวอย่างการคิดค่าสเปรด
สมมุติว่าราคาปัจจุบันของคู่เงิน EUR/USD อยู่ที่ 1.10000 สเปรดปัจจุบันอยู่ที่ 20 จุด
เมื่อคุณ BUY คุณจะไม่ได้ราคา 1.10000 แต่จะได้ซื้อในราคา 1.10020 แทน เพราะมีการคิดค่าสเปรดจากโบรกเกอร์
แล้วจะลดค่าสเปรดทำได้อย่างไร?
วิธีการแรก คือการเลือกโบรกเกอร์ที่มีค่าสเปรดต่ำอยู่แล้ว เพราะในตลาดฟอเร็กซ์โบรกเกอร์อยู่มากมายในตลาด และแต่ละโบรกเกอร์ก็แข่งขันทางการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้า ทั้งการแจกโบนัสสำหรับมือใหม่ โบนัสเงินฝาก หรือแม้กระทั้งการชูว่าโบรกเกอร์ของตนมีสเปรดต่ำ
วิธีการสอง คือการใช้บัญชีที่มีสเปรดต่ำยกตัวอย่างบัญชีประเภทนี้ก็เช่น บัญชี ECN ซึ่งโบรกเกอร์ทั่วไปจะมีบัญชีประเภทนี้ให้เราอยู่แล้ว แต่ค่าสเปรดที่ลดลงจะตามมาด้วยค่าคอมมิชชันสำหรับบัญชีประเภทนี้ แต่การที่มีสเปรดน้อยลงก็ทำให้เราเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิธีการที่สาม คือการใช้บริการผู้จ่ายรีเบตคืน ซึ่งในตลาดก็มีผู้ให้บริการเหล่านี้อยู่มากมาย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมดังนี้
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! : คลิกที่นี่
คลังบทความความรู้เพิ่มเติม : คลิกที่นี่
บทความรีวิวโบกเกอร์เพิ่มเติม : คลิกที่นี่
บทวิเคราะห์รายวัน : คลิกที่นี่