แม้ทุกท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า "กราฟแท่งเทียน" เป็นกราฟที่ได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์ทั่วโลกสูงสุด มีให้บริการทุกแพลตฟอร์ม แต่อย่างไรก็ดี เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับมัน ทั้งประวัติ ลักษณะ วิธีการอ่านกราฟ และรูปแบบที่นิยมใช้มากที่สุด เพื่อให้ทุกท่านได้รู้จักกับมันมากยิ่งขึ้น
กราฟแท่งเทียน (Candlestick) หรือเรียกอีกอย่างว่า Japanese Candlestick Chart เป็นกราฟที่มีลักษณะคล้ายแท่งเทียนรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการบรรยายลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาสินค้า ราคาหลักทรัพย์ ราคาอนุพันธ์ รวมถึงค่าเงิน
กราฟแท่งเทียนบอกข้อมูลได้มากกว่าความเปลี่ยนแปลงด้านราคาในแต่ละช่วงเวลา โดยเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์จะสังเกตกราฟแท่งเทียนรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้วัดแนวโน้มตลาดในอนาคต เช่น
อาจหมายถึง แรงซื้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ราคาสินทรัพย์ตก นับเป็นสัญญาณที่ดีของการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มสินทรัพย์นั้น
อาจหมายถึง แรงขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการขายเพื่อทำกำไร หรือการเทขายด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณที่จะมีการขายออกในราคาที่ต่ำ
อาจหมายถึง ทัศนคติในตลาดมีแนวโน้มไปในทางบวกอย่างมาก (แท่งเทียนสีเขียว) หรือมีแนวโน้มไปทางลบอย่างมาก (แท่งเทียนสีแดง) เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ตัวอย่างข้างต้นอาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไป ดังนั้น เทรดเดอร์จึงต้องใช้เครื่องมืออื่น ๆ ประกอบการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
กราฟแท่งเทียนนั้น ต้นกำเนิดที่แท้จริงยังคงเป็นปริศนาเล็กน้อย แต่ที่ถูกกล่าวขานที่สุด คือ มันพัฒนาขึ้นมาช่วงศตวรรษที่ 18 โดย Munehisa Honma (บ้างก็ว่า Munehisa Homma) พ่อค้าข้าวชาวญี่ปุ่น เพื่อติดตามราคาตลาดและโมเมนตัมรายวัน หลังจากนั้นถูกเปิดเผยและนำมาใช้อย่างแพร่หลายในโลกตะวันตก ข้อมูลดังกล่าวถูกบันทึกไว้ในหนังสือชื่อ Japanese Candlestick Charting Techniques ของ Steve Nison ทำให้เครื่องมือนี้ถูกใช้มายาวนานจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี มีข้อมูลบางส่วนที่มาโต้แย้งผู้คิดค้น กล่าวคือ ผู้เขียน Nison จากหนังสือเรื่อง Beyond Candlesticks กล่าวว่า "ดูเหมือนว่า Honma จะไม่ได้ใช้กราฟแท่งเทียน ซึ่งจากการสืบค้น กราฟแท่งเทียนถูกคิดค้นขึ้นช่วงต้นยุคเมจิในญี่ปุ่น (ปลายปี ค.ศ. 1800)"
กระนั้น เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า กราฟแท่งเทียนกลายมาเป็นที่นิยมในปัจจุบัน และถูกใช้อย่างแพร่หลายในวงการ Forex รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ โดยกราฟแท่งเทียนมักจะถูกใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่เป็นที่นิยม
กราฟแท่งเทียน มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีไส้ที่ด้านล่างและบนคล้ายเทียน ดังนั้น มันจึงถูกเรียกว่า "กราฟแท่งเทียน" โดยกราฟแท่งเทียนแต่ละแท่งจะแสดงราคาสูง ต่ำ เปิด และปิดของหลักทรัพย์ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ตามที่ผู้ใช้ตั้งค่าการใช้งาน
(ขอบคุณภาพจาก IG.com)
สำหรับการอ่านกราฟแท่งเทียนนั้น ผู้ใช้สามารถดูได้จากภาพด้านบน กล่าวคือ
หากเป็น "แท่งเทียนขาขึ้น" ขึ้นสีเขียว องค์ประกอบราคาจะเป็นดังนี้
- ราคาเปิด (Open) เป็นขั้วเส้นด้านบนของเนื้อเทียน
- ราคาปิด (Close) เป็นขั้วเส้นด้านล่างของเนื้อเทียน
- ราคาสูงสุด (High) คือ ปลายไส้เทียนด้านบน
- ราคาต่ำสุด (Low) คือ ปลายไส้เทียนด้านล่าง
แต่หากเป็น "แท่งเทียนขาลง" สีแดง องค์ประกอบราคาจะเป็นดังนี้
- ราคาเปิด (Open) เป็นขั้วเส้นด้านล่างของเนื้อเทียน
- ราคาปิด (Close) เป็นขั้วเส้นด้านบนของเนื้อเทียน
- ราคาสูงสุด (High) คือ ปลายไส้เทียนด้านบน
- ราคาต่ำสุด (Low) คือ ปลายไส้เทียนด้านล่าง
อย่างไรก็ตาม แท่งเทียนที่ปรากฏอาจจะมีหลายรูปแบบ เนื่องจากพฤติกรรมของราคาที่เปลี่ยนไปตามสภาวะตลาดแต่ละช่วง บางครั้งไส้เทียนก็ยาวมาก ราคาปิดและราคาเปิดอยู่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงมีการศึกษากลุ่มแท่งเทียน เพื่อทำนายพฤติกรรมราคาของสินทรัพย์ โดยเรียกว่า "รูปแบบกราฟแท่งเทียน" (Candlestick Pattern) ซึ่งมีรายละเอียดดังจะกล่าวในหมวดต่อไป
การวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน มีทั้งรูปแบบกราฟแบบเดี่ยว ๆ และรูปแบบกราฟแบบกลุ่มแท่งเทียน ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาได้ โดยรูปแบบที่แตกต่างกันก็จะนำไปสู่ผลการเทรดที่แตกต่างกัน โดยบทความนี้จะยกตัวอย่างเฉพาะที่มีความสำคัญ จดจำได้ง่าย ทั้งรูปแบบแท่งเทียนเดี่ยว ๆ และกลุ่มแท่งเทียนดังต่อไปนี้
ในภาพเป็นกราฟแท่งเทียนรูปแบบ Doji โดยดูได้จากในวงกลม จะเห็นว่า รูปแบบ Doji คือ รูปแบบที่ราคาปิดและราคาเปิดแทบใกล้เคียงกันมากจนแทบจะเป็นราคาเดียวกัน และมีไส้เทียนทั้งด้านบนและด้านล่างค่อนข้างยาว โดยแท่งเทียนรูปแบบ Doji จะสามารถปรากฏขึ้นได้ทั้งกราฟในขาขึ้นและขาลง หรือปรากฏอยู่หลายแท่งพร้อมกันก็ได้เช่นกัน
การปรากฏแท่งเทียนรูปแบบ Doji จะทำให้เกิดการกลับตัวของราคา ซึ่งในวงกลมสีเทาจะเห็นว่า เมื่อเกิดกราฟรูปแบบ Doji ราคาได้เคลื่อนไหวกลับด้านและเปลี่ยนเทรนด์ สาเหตุก็เพราะว่า ในกรณีของตลาดกระทิง ตลาดซื้อจะเป็นขาขึ้น แต่เมื่อคนซื้อหมดไปและคนขายเริ่มเข้ามาแทนที่ มันก็จะทำให้เกิดการฉุดกระชากของราคา ซึ่งปริมาณการซื้อขายจะถูกแสดงออกมาเป็นไส้เทียน แล้วกลับลงมาปิดที่เราคาเปิด นั่นเพราะว่า คนซื้อพยายามจะซื้อให้มันขึ้นแต่ไม่เป็นผล ทำให้แท่งเทียนรูปแบบ Doji บ่งบอกถึงการกลับตัวของราคา ตามหลักการของอุปสงค์และอุปทานที่มีอยู่ในตลาด
รูปแบบแท่งเทียนแบบ Engulfing ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่บอกการกลับตัวของราคา โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
รูปแบบ Engulfing ประกอบด้วยแท่งเทียนแท่งแรก ซึ่งอาจจะเป็นแท่งเทียนขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ และจะมีแท่งเทียนด้านหลังขนาดยาวกว่า ซึ่งอาจจะเป็นแท่งเทียนขาขึ้นหรือขาลงก็ได้เช่นกัน แต่ลักษณะแท่งเทียน 2 แท่งที่อยู่ใกล้กันนั้นต้องเป็นคนละสี
จากตัวอย่างในสี่เหลี่ยมที่ 1 จะเห็นว่า กราฟเกิดแท่งเทียนรูปแบบ Engulfing แบบกลับตัวขาลง โดยแท่งเทียนแรกเป็นสีเขียวและโปร่งมีไส้ด้านบนและด้านล่าง ขณะที่แท่งที่ 2 เป็นแท่งขาลง มีไส้ด้านบนและด้านล่างเช่นเดียวกัน ซึ่งข้อสังเกตหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ แท่งเทียนข้างหลังจะต้องยาวครอบคลุมแท่งเทียนด้านหน้า หรือก็คือ ราคา Low ของแท่งเทียนด้านหลังต่ำกว่าแท่งเทียนด้านหน้า ส่วนราคา High ของแท่งเทียนด้านหลังก็สูงกว่าเช่นกัน นั่นหมายความว่า แท่งเทียนด้านหลังสามารถครอบคลุมการเคลื่อนไหวของแท่งก่อนหน้า ทำให้ Engulfing Pattern เป็นรูปแบบของการกลับตัว
จากรูปจะเห็นว่า การที่แท่งเทียนด้านหน้าสั้น นั่นหมายความว่า ตลาดเทรนด์ที่ผ่านมานั้นหมดแรง และเมื่อราคาเปิด High และเคลื่อนไหวต่อ แต่เจอแรงขายปะทะ ทำให้ราคาหลุดลงมาอย่างรุนแรง ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรง ทำให้ทิศทางของราคาเปลี่ยนอย่างทันทีทันใด ตามมาด้วยเกิดเทรนด์ของภาวะตรงข้ามกับกราฟที่ผ่านมา
แท่งเทียนรูปแบบค้อน หรือ Hammer Candle เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกราฟที่แสดงการกลับตัวของราคา โดยที่ตัวเทียนสั้น ขณะที่ขนาดไส้เทียนยาว เมื่อเทียบกับตัวเทียน ดังรูปต่อไปนี้
จากรูปจะเห็นว่า แท่งเทียนรูปแบบค้อนที่ยกตัวอย่างนั้น มีหัวค้อนเป็นสีดำ หรือก็คือ หัวค้อนเป็นขาขึ้นทั้งคู่ หัวค้อนนั้นจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ แต่การเจอรูปแบบค้อนนั้น หมายถึง การกลับตัวของราคา ในภาพเป็นการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลงเหมือนกัน แต่ว่าทิศทางของไส้เทียนนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งทิศทางของไส้เทียนที่แตกต่างกัน ย่อมหมายความว่า ถ้าไส้เทียนอยู่ด้านบน โอกาสที่จะกลับตัวจะมีสูงมาก เพราะแสดงว่ามีแรงซื้อขึ้นไป ทำให้ไส้เทียนยาว แต่จู่ ๆ ก็มีแรงขายทำกำไรเข้ามามากเช่นกัน ทำให้เกิดแรงขายและมีไส้เทียนที่ยาวปรากฏขึ้นมา หมายความว่า ฝ่ายขายเป็นผู้ชนะเมื่อแท่งเทียนนั้นหดลงมาเหลือขนาดนิดเดียว
รูปแบบค้อนรูปแบบที่ 2 นั้นจะมีการกลับตัวที่สั้นกว่า เพราะเมื่อเกิดรูปแบบค้อนแล้ว ราคาดีดกลับปิดราคา High ได้ แสดงว่ามีแรงซื้อจำนวนมากเข้ามาสนับสนุน แต่ไม่อาจจะทานแรงขายระยะสั้นได้ ทำให้การเคลื่อนไหวลงก็จะไม่เกิดมากนัก เพราะแท่งเทียนรูปแบบค้อนรูปที่ 2 ที่ปรากฏเป็นรูปแบบที่ทำให้ราคาขึ้น การกลับตัวจึงกลายเป็นการกลับตัวในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
แท่งเทียนรูปแบบ Hangman หรือคนฆ่าตัวตาย เป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ Doji และ Hammer ผสมรวมกัน โดยรูปแบบ Hammer จะไม่มีไส้ด้านบน หรือส่วนปลายของค้อน ขณะที่รูป Doji จะอยู่กึ่งกลาง และไส้ด้านบนกับไส้ด้านล่างมีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบ Hangman เพราะแท่งเทียนแบบ Hangman จะมีไส้ทั้งสองด้าน แต่ด้านใดด้านหนึ่งจะมีไส้ยาวกว่าอีกด้านหนึ่ง ทำให้มีรูปร่างคล้ายคลึงกับเกมส์ Hangman ที่เราเล่นตอนเด็ก
การเกิดแท่งเทียนรูปแบบ Hangman ทำให้เกิดการกลับตัวเช่นเดียวกับรูปแบบอื่น ๆ นั่นเพราะแท่งเทียนแบบ Hangman สามารถบอกกลับตัวและการอธิบายที่คล้ายคลึงกับรูปแบบ Doji นั่นเป็นเพราะเมื่อราคากำลังเคลื่อนไหวขึ้นนั้น จู่ ๆ ราคาก็เจอกับแรงขายกระชากลงมา ทำให้เกิดไส้เทียน แต่ก็ยังไม่ลงในทันทีทันใด ซึ่งการที่ไม่ลงทันทีทันใดนี้ มันเกิดผลตามมาในการกลับตัวของเทรนด์ เพราะน้ำหนักของเทรนด์ไม่สามารถไปต่อได้
รูปแบบแท่งเทียนทั้ง 4 นี้ นับเป็นรูปแบบการกลับตัวทั้งหมด อย่างไรก็ดี กราฟแท่งเทียนยังมีรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย บางครั้งอาจจะมีถึงหลักร้อยเลยก็ได้ ดังนั้น หากเทรดเดอร์ที่สนใจก็อาจจะยังไม่ต้องศึกษาทั้งหมด แต่ให้ศึกษาโดยเริ่มจากรูปแบบที่สำคัญ และค่อย ๆ เพิ่มพูนด้วยประสบการณ์ อย่างไรก็ดี กราฟแท่งเทียนไม่ใช่ทั้งหมดของคำตอบ ดังนั้น เทรดเดอร์จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการช่วยวิเคราะห์แนวโน้มต่อไป แต่ขอให้ทุกท่านทราบว่า ประสบการณ์จะทำให้การเทรดของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้ดังนี้
คลังบทความความรู้เพิ่มเติม: คลิกที่นี่
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!!: คลิกที่นี่
รีวิวโบรกเกอร์เพิ่มเติม: คลิกที่นี่