รูปแบบกราฟ ABCD เป็นหนึ่งในแพทเทิร์นกราฟพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเทรดในทุก ๆ ตลาด ซึ่งเทรดเดอร์ทุกคนไม่เพียงแค่ต้องอ่านกราฟให้เป็น แต่ยังต้องติดตามและจับตาแท่งราคาอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญแพทเทิร์น ABCD ยังเป็นตัวช่วยสำคัญในการรับมือกับความผันผวนในตลาดการเงินอีกด้วย
รูปแบบกราฟ ABCD คืออะไร?
รูปแบบ ABCD เป็นหนึ่งในรูปแบบกราฟที่ติดตามและระบุได้ง่ายที่สุด เนื่องจากโครงสร้างของกราฟที่ดูง่าย ซึ่งประกอบไปด้วยการแกว่งของขาราคา 2 ขาที่มีความใกล้เคียงกัน โดยรูปแบบ ABCD นี้เป็นกราฟประเภท Harmonic ที่ใช้บ่งบอกโมเมนตัมของราคาที่กำลังจะเกิดการกลับตัว ที่สำคัญแพทเทิร์นนี้ยังใช้เทรดได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงอีกด้วย เนื่องจากกราฟจะแสดงทิศทางราคาทั้งในตลาดขาขึ้น (Bullish) และตลาดขาลง (Bearish) นั่นเอง
รูปแบบ ABCD มีหลักการทำงานอย่างไร?
กราฟ ABCD จะเริ่มต้นด้วยจุดยอดจุดแรก (A) ซึ่งเป็นจุดขาขึ้นที่แข็งแกร่ง โดยจังหวะนี้เทรดเดอร์จะกระหน่ำซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างหนักหน่วง จนในที่สุดแรงซื้อดังกล่าวทำให้ราคาพุ่งขึ้นไปสู่ระดับราคาสูงสุด (High) ของวันนั้น และก่อให้เกิดสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) จากนั้นนักลงทุนที่เปิดออเดอร์ Buy ไว้ก็จะพยายามขายสินทรัพย์นั้นออกมา เพื่อทำกำไรเข้ากระเป๋า จนราคาร่วงลงอย่างรุนแรงและทำให้เกิดยอดแหลมจุดแรกนี้นั่นเอง
เมื่อราคากลับตัวเป็นขาลง ทำให้เกิดราคา Low (จุด B) ของวันนั้นแทน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะร่วงลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม จังหวะนี้เทรดเดอร์ไม่ควรเปิดออเดอร์ ไม่ว่าจะ Buy หรือ Sell เว้นแต่ว่าเทรดเดอร์จะมั่นใจว่าราคาจะกลับตัวได้จริง
สิ่งที่ควรทำคือ รอให้ราคาไปแตะระดับ Higher Low และตรวจสอบว่าเทรนด์ฝั่งนั้นมีความแข็งแกร่งจริงๆ (ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่เหนือระดับ Low ของวัน หรือ จุด B) โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวางแผนเทรดต่อไป คือ จังหวะที่ราคาแตะ Higher Low ที่จุด C โดยมีจุด D เป็นตำแหน่งสำคัญในการล็อกเป้าทำกำไร
รูปแบบกราฟ ABCD สำคัญอย่างไร?
แพทเทิร์น ABCD มีความสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์การเทรดรายวัน (Day Trading Strategy) เป็นอย่างมาก เนื่องจาก:
- รูปแบบ ABCD เป็นแพทเทิร์นพื้นฐานของรูปแบบกราฟอื่นๆ ที่นักเทรดใช้ติดตามราคา
- ประสิทธิภาพในการจับจังหวะการเทรด ไม่ว่าตลาดจะมีสภาวะเป็นอย่างไร หรือจะอาศัยกรอบเวลา (Timeframe) ใดก็ตาม
- ช่วยให้เทรดเดอร์เปรียบเทียบและคำนวณอัตราผลตอบแทน (Reward) และความเสี่ยง (Risk) ได้
- แพทเทิร์นที่มาบรรจบกันนับเป็นสัญญาณเทรดที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก
- เพิ่มโอกาสในการเทรดให้ชนะได้ รวมถึงการพิจารณา Risk Reward Ratio อย่างแม่นยำ
วิธีเทรดด้วยรูปแบบกราฟ ABCD
อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นนักเทรดฝั่งซื้อ (Bull) หรือนักเทรดฝั่งขาย (Bear) ก็สามารถใช้กราฟนี้ได้ เพราะมันประกอบไปด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการระบุจังหวะที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางราคา อย่างไรก็ตาม กราฟรูปแบบนี้อาจมีความซับซ้อนเล็กน้อยสำหรับนักเทรดมือใหม่ แต่เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจหลักการทำงานของแพทเทิร์นนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น วันนี้ Forexlearning จะยกตัวอย่างวิธีการเทรดด้วยรูปแบบกราฟ ABCD ให้ดูกัน
แต่ทั้งนี้ เหตุการณ์ด้านล่างเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างการเทรดเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว เทรดเดอร์สามารถใช้งานรูปแบบกราฟ ABCD ได้อีกหลายวิธี
- จุดเข้า (Entry Point) – เทคนิคแรก คือ การหาจังหวะที่ดีที่สุดในการเข้าเทรด ด้วยรูปแบบกราฟ ABCD โดยสิ่งสำคัญที่ท่านควรทำคือการใช้ Scanner และติดตามราคาหุ้นที่เคลื่อนที่จากจุด A ไปยังจุด B ไปจนราคาทำ New High ประจำวัน หากระดับแนวรับปรากฎขึ้นเหนือจุด A เราจะกำหนดระดับแนวรับใหม่ (จุด C) เพื่อใช้ตรวจสอบเมื่อราคามาบรรจบกัน โดยในจังหวะนี้ เทรดเดอร์สามารถเข้าเทรด หรือ เปิดออเดอร์ได้ เพื่อรอให้ราคาพุ่งขึ้นไปเหนือจุด C
- จุดออก (Exit Point) – เอาล่ะ! คราวนี้ลองหาจังหวะการปิดออเดอร์โดยใช้รูปแบบกราฟ ABCD ดูนะครับ หากท่านสังเกตเห็นราคาปรับตัวลงต่ำกว่าจุด C ท่านควรต้องปิดออเดอร์นั้น แต่ถ้าหากราคาแค่แตะจุด D ท่านยังไม่ควรปิดออเดอร์ทั้งหมด แต่อาจขายหุ้นที่ถืออยู่ออกบ้างเล็กน้อย จากนั้นค่อยขายหุ้นที่เหลือเมื่อราคาไปถึงเป้าหมายที่ท่านกำหนดไว้
สรุป
รูปแบบกราฟ ABCD เป็นแพทเทิร์นที่ยืดหยุ่นและใช้งานได้ไม่ยุ่งยาก ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยระบุจังหวะที่ราคาอาจเกิดการกลับตัว หรือแม้แต่จังหวะที่ราคาอาจเปลี่ยนทิศทางเป็นครั้งที่ 2 หลังเทรนด์นั้นอ่อนแอลง ที่สำคัญแพทเทิร์นนี้ยังเหมาะสำหรับนักเทรดทั้งฝั่ง Buy และ Sell ที่ต้องการติดตามรูปแบบในกระดานราคา, ทิศทางราคา, และเวลา ด้วยแพทเทิร์นเดียวโดยไม่ต้องใช้หลาย ๆ แพทเทิร์นให้วุ่นวายเลย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมดังนี้
คอร์สเรียนสำหรับมือใหม่ ฟรี!! : คลิกที่นี่
คลังบทความความรู้เพิ่มเติม : คลิกที่นี่
บทความรีวิวโบกเกอร์เพิ่มเติม : คลิกที่นี่
บทวิเคราะห์รายวัน : คลิกที่นี่